สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ข่าวกิจกรรม

สหกรณ์ยื่นหนังสือ รัฐมนตรีเกษตร คัดค้าน ชะลอ ร่างกฎกระทรวงการบริหารจัดการและการกำกับดูแลฯ

โดย นางสาวจุรีรัตน์ กาญจนดี
 วันที่ 24 มิ.ย. 2567 เวลา 09:33 น.
 7560
UploadImage
สหกรณ์ยื่นหนังสือ รัฐมนตรีเกษตร คัดค้าน ชะลอ ร่างกฎกระทรวงการบริหารจัดการและการกำกับดูแลฯ
                 นายปัณฐวิชญ์ มุ่งสมัครศรีกุล ผู้อำนวยการ สันนิบาตสหกรณ์ฯ ได้รับมอบหมายจาก ประธานฯ สสท . นำ นายอุทัย ศรีเทพ  ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูไทย จำกัด,นายจำเริญ พรหมมาศ ผู้แทนสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บรรเจิด พฤติกิตติ ประธานชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด นางวันเพ็ญ ดวงมาลา ผู้แทนในส่วนของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขขนาดใหญ่ ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อนำเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาร่างกฎกระทรวงการบริหารจัดการและการกำกับดูแลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. …..โดยมี ดร.ธนสาร ธรรมสอน ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ รับฟังความเห็นและรับหนังสือ โดย การเข้าพบเพื่อยื่นหนังสือดังกล่าวเนื่องด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหนังสือลงวันที่ 4 มิถุนายน 2567 เรื่องร่างกฎกระทรวงการบริหารจัดการและการกำกับดูแลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนียนถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ส่งถึงคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไปจากการพิจารณาถึงประเด็นต่างๆยังมีขบวนการสหกรณ์ในหลายส่วนไม่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวจึงมายื่นหนังสือเพื่อขอให้ทบทวนและชะลอไว้ก่อน
ด้านนายอุทัย ศรีเทพ  เสนอปัญหาของร่างกฎกระทรวงที่มีผลต่อการบริหารงานสหกรณ์ ว่า ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ ไม่ควรกำกับการบริหารงานสหกรณ์ จนเป็นการบอนไซสหกรณ์จนไม่สามารถเติบโตได้ และรัฐไม่ได้เป็นเจ้าของสหกรณ์แต่การออกกฎหมายบางอย่างบังคับจนขาดหลักการสหกรณ์  กลายเป็นการบริหารงานแบบธนาคาร ซึ่งอุดมการณ์หลักการระหว่าง สหกรณ์และธนาคารไม่เหมือนกัน มีความแตกต่างกับในหลายบริบท ทั้งในเรื่องที่มาของสมาชิกสหกรณ์ ซึ่งเป็นทั้งสมาชิก เป็นผู้กู้ ผู้ฝาก ผู้บริหารสหกรณ์ และการเป็นเจ้าของสหกรณ์ การจะมาใช้หลักเกณฑ์เดียวกับธนาคารจึงเป็นไปไม่ได้ เพราะจะทำให้สมาชิกสหกรณ์เดือนร้อนจำนวนมาก
              นายจำเริญ พรหมมาศ เสนอว่า ให้ชะลอหรือหยุด นำร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาบังคับใช้ เนื่องจาก จะกระทบต่อสวัสดิการของสหกรณ์ ทั้งในเรื่องงวดชำระที่เหมาะสม ไม่ใช่ 150 งวด แต่ต้องให้สมาชิกมีจำนวนงวดที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อต่อลมหายใจให้กับสมาชิก และไม่ควรกำหนดกติกาจนสหกรณ์เดินต่อไปไม่ได้ อายุของการเป็นหนี้ ควรยึดหยุ่นให้มากกว่า 75ปี เพราะในแต่ละสหกรณ์ออมทรัพย์ มีทั้งผู้ค้ำ และมีการทำประกันหนี้ จึงแทบไม่ต้องกังวล เรื่องหนี้สูญ และ ไม่ควรให้ตั้งหนี้เผื่อสงสัยจะสูญ จนส่งผลกระทบให้สหกรณ์ลดจำนวนลงอย่างมีนัยยะ
 
            ทั้งนี้ จากการเข้าพบหารือกับที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯได้ข้อสรุปว่าให้สันนิบาตสหกรณ์ฯ จัดทำสรุปผลได้ผลเสียที่จะกระทบต่อสหกรณ์ภาคออมทรัพย์/เครดิตยูเนี่ยน จากร่างกฎกระทรวงนี้เพื่อนำเสนอและให้เรียนเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมรับฟังผลกระทบจากด้านกฎกระทรวงในโครงการเวทีเสวนาระดมความคิดเห็นเรื่องผลกระทบจากกฎกระทรวงฉบับใหม่ใครได้ใครเสียในวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจรัสฯ สสท

UploadImageUploadImage