ปัจจุบันเป็นไปตามกฎกระทรวง กำหนดประเภทสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ.2548 กำหนดไว้ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้
|
1. สหกรณ์การเกษตร
|
2. สหกรณ์ประมง |
3. สหกรณ์นิคม |
4. สหกรณ์ร้านค้า |
5. สหกรณ์บริการ |
6. สหกรณ์ออมทรัพย์ |
7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน |
ประเภทสหกรณ์ คือ กลุ่มสหกรณ์ที่มีความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์หลักอย่างเดียวกัน เช่น กลุ่มสหกรณ์การเกษตร กลุ่มสหกรณ์ประมง กลุ่มสหกรณ์นิคม กลุ่มสหกรณ์ร้านค้า ฯลฯ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 |
วัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ |
ความคาดหวังหรือสิ่งที่ต้องการที่มีนัยสำคัญในการดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกของสหกรณ์ เช่น วัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์การเกษตร ได้แก่ การให้บริการสินเชื่อแก่สมาชิก การรวมกันซื้อวัสดุอุปกรณ์การผลิตและสินค้าอุปโภคบริโภค การรวมกันขายและหรือแปรรูปผลิตผลการเกษตรเพื่อขายหรือการตลาด ซึ่งรวมทั้งการคัดขนาดหรือคุณภาพผลผลิต การเก็บรักษาการขนส่ง ฯลฯ ทั้งนี้ รวมถึงการให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์หลักดังกล่าวข้างต้น เช่น บริการน้ำเพื่อการเกษตร บริการใช้เครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ร่วมกัน บริการส่งเสริมแนะนำทางวิชาการ เป็นต้น |
วัตถุประสงค์รองของสหกรณ์ |
การจัดให้มีสวัสดิการหรือการสงเคราะห์แก่สมาชิก การส่งเสริมการศึกษาฝึกอบรมและวัฒนธรรม การดำเนินกิจกรรมเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม ฯลฯ วัตถุประสงค์รองของสหกรณ์นี้มุ่งไปในด้านกิจกรรมทางสังคม หรือมิติทางสังคมของสหกรณ์ ในขณะที่วัตถุประสงค์หลักมุ่งไปในด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือมิติทางเศรษฐกิจ |
สหกรณ์ทุกประเภทสามารถกำหนดวัตถุประสงค์รองเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรก็ได้ โดยไม่ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ในการแบ่งแยกประเภทของสหกรณ์ เฉพาะวัตถุประสงค์หลักเท่านั้นที่เป็นกฎเกณฑ์ในการแบ่งแยกประเภทสหกรณ์ ทั้งนี้เพราะว่าสหกรณ์เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการอันดีเป็น (need) อย่างเดียวกันหรือเหมือนกัน เพื่อร่วมกันดำเนินธุรกิจหรือวิสาหกิจบนพื้นฐานของการช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นกฎเกณฑ์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์จึงแตกต่างกัน การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจรูปอื่น เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือรัฐวิสาหกิจ ห้างหุ้นส่วนบริษัท สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ได้อย่างกว้างขวาง ดังคำกล่าวที่ว่า "จากไม้จิ้มฟันยันเรือรบ" ส่วนรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้นๆ หรือตามนโยบายของรัฐบาล |
มี 2 วิธี คือ โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายสหกรณ์ และโดยคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ (ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายสหกรณ์) |
1. การจัดประเภทสหกรณ์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายสหกรณ์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ |
(1) ลักษณะที่ 1 ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์หลายฉบับ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มีกฎหมายสหกรณ์สำหรับสหกรณ์แต่ละประเภท เช่น กฎหมายสหกรณ์การเกษตรสำหรับประเภทสหกรณ์การเกษตร กฎหมายสหกรณ์ประมงสำหรับประเภทสหกรณ์ประมง กฎหมายสหกรณ์ปศุสัตว์สำหรับสหกรณ์ปศุสัตว์ กฎหมายสหกรณ์ป่าไม้สำหรับสหกรณ์ป่าไม้ กฎหมายสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสำหรับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ฯลฯ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ซึ่งใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์หลายฉบับก็มีกฎหมายสหกรณ์สำหรับสหกรณ์แต่ละประเภทในทำนองเดียวกัน |
(2) ลักษณะที่ 2 ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์ฉบับเดียว เช่น ประเทศไทยและฟิลิปปินส์ มีกฎหมายสหกรณ์ฉบับเดียวใช้บังคับแก่สหกรณ์ทุกประเภท พรบ.สหกรณ์ พ.ศ. 2511 และ พรบ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 ของไทย มาตรา 33 วรรคสุดท้าย บัญญัติไว้เหมือนกันว่า "ประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียนให้กำหนดโดยกฎกระทรวง" ในปัจจุบันเราจึงมีกฎกระทรวง (พ.ศ.2548) ออกตามความใน พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 ใช้บังคับอยู่ โดยกำหนดให้มีสหกรณ์ 7 ประเภท คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ ประมวลกฎหมายสหกรณ์สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1990 มาตรา 23 ได้แบ่งประเภทสหกรณ์ไว้ 6 ประเภท คือ |
- สหกรณ์สินเชื่อ |
- สหกรณ์ผู้บริโภค |
- สหกรณ์ผู้ผลิต |
- สหกรณ์การตลาด |
- สหกรณ์บริการ |
- สหกรณ์เอนกประสงค์ |
2. การจัดประเภทสหกรณ์โดยคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ |
ประเทศส่วนมากที่ใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์ฉบับเดียวไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยประเภทสหกรณ์ไว้โดยเฉพาะเจาะจง แต่ให้อยู่ในดุลยพินิจของนายทะเบียนสหกรณ์ที่จะกำหนดว่าสหกรณ์ที่เสนอขอจดทะเบียนนั้น ควรจัดให้อยู่ในประเภทใดโดยพิจารณา จากวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ตามที่ปรากฏในร่างข้อบังคับของสหกรณ์นั้นเอง ในทางปฏิบัติจึงมีระเบียบหรือคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดประเภทของสหกรณ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมของรัฐให้คำแนะนำแก่คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์และช่วยเหลือในการยกร่างข้อบังคับสหกรณ์ การกำหนดประเภท สหกรณ์ในกลุ่มประเทศเหล่านี้จึงมีลักษณะยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับความต้องการของประชาชนซึ่ง รวมกลุ่มกันจัดตั้งสหกรณ์ได้เสมอ สิงคโปร์จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้กำหนดประเภทของ สหกรณ์ไว้ในกฎหมาย |