สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ข่าวกิจกรรม

ประธาน สสท. ร่วมประชุมสมัชชาใหญ่สามัญประจำปี ICA AP และประชุมวิชาการสหกรณ์ ครั้งที่ 11

โดย นายกมลศักดิ์ นันตา
 วันที่ 08 พ.ย. 2566 เวลา 10:29 น.
 926

UploadImage


 
ประธาน สสท.
ร่วมประชุมสมัชชาใหญ่สามัญประจำปี ICA AP
และประชุมวิชาการสหกรณ์ ครั้งที่ 11
 
               นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานกรรมการดำเนินการ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนายภาณุวัฒน์ แว่นระเว หัวหน้าฝ่ายกิจการระหว่างประเทศและส่งเสริมธุรกิจการค้า ชำนาญการพิเศษ ร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่สามัญประจำปี ขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก : The International Cooperative Alliance : Asia-Pacific (ICA AP) ครั้งที่ 16 และการประชุมวิชาการสหกรณ์ ครั้งที่ 11 (11th Asia-Pacific Cooperative Forum) หัวข้อ วาระทั่วไปของทุกคน (Theme : Cooperatives: Our Common Agenda) ซึ่งจัดโดย Philippines Cooperative Affiliates (PCA) ณ โรงแรม Crowne Plaza Hotel, Ortigas Avenue, Pasig City กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 10 พฤศจิกายน 2566
 

 
UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage


UploadImage

UploadImage
ความเป็นมา (Background)
การประชุมวิชาการสหกรณ์ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นการจัดขึ้นทุกสองปีซึ่งพันธมิตรและผู้มีส่วนได้เสียในขบวนการสหกรณ์มารวมตัวกันเพื่อประเมินความคืบหน้า หารือเกี่ยวกับความท้าทายและบรรลุข้อตกลงที่จะเสริมสร้างธุรกิจสหกรณ์ให้เป็นแบบอย่างของการพัฒนาที่ยั่งยืน การประชุมวิชาการสหกรณ์นี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 และจัดควบคู่กับการประชุมสมัชชาใหญ่ขององค์การ ICA AP เพื่อใช้ประโยชน์จากการรวมตัวกันของผู้แทนสมาชิกและพันธมิตรต่างๆ
 
สหกรณ์กว่า 3 ล้านแห่งทั่วโลก คิดเป็น 12% ของประชากรในโลกนี้มีส่วนช่วยในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สหกรณ์ในฐานะธุรกิจที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง จึงให้โอกาสในการมีงานทำแก่วัยทำงานทั่วโลกถึง 10% แถลงการณ์ ว่าด้วยอัตลักษณ์สหกรณ์ ขององค์การ ICA (The ICA Statement on Cooperative Identity-SCI) เป็นการรวมตัวของสหกรณ์ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ค่านิยมและหลักการสหกรณ์ให้การควบคุมชีวิตและอนาคตและทำหน้าที่ในฐานที่ทำให้สหกรณ์ทำธุรกิจที่แตกต่างจากธุรกิจประเภทอื่น องค์การ ICA เป็นผู้นำในการปรับอัตลักษณ์สหกรณ์ระหว่างครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งในปี 1995
 
รูปแบบธุรกิจของสหกรณ์มุ่งเน้นที่เศรษฐกิจ สังคมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมของสมาชิกและหลักการประชาธิปไตยที่เข้มแข็งเป็นทางออกที่เป็นไปได้ในประเด็นเศรษฐกิจและสังคมในยุคนี้ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มากกว่า 100 ปีที่สหกรณ์ดำรงอยู่ได้ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง ภายใต้ความท้าทายทางสังคมและการเมือง และยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องแม้จะมีอัตราต่อรอง ความต้องการสหกรณ์ในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากความไม่เท่าเทียมขยายกว้างมากขึ้น มีพื้นที่ในการรวมตัวกันแคบลง มีความรู้สึกไม่มั่นคงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในชุมชนชายขอบและเปราะบาง
 
ในปี 2566 สร้างจุดกึ่งกลางของการดำเนินการตามวาระ 2566 เพื่อพัฒนาการที่ยั่งยืน และ 17 เป้าหมายแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติ สหกรณ์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการตามเป้าหมายแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติ (SDGs) และมุ่งเน้นในเป้าหมายแห่งการพัฒนาข้อที่ 1 (ไร้ความยากจน) (no poverty), ข้อ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ (gender equality), ข้อ 8 รวมการเจริญเติบโต (inclusive growth) และข้อ 13 การดำเนินการด้านสภาพอากาศ (climate action) ความพยายามของสหกรณ์ได้รับการยอมรับและสะท้อนให้เห็นในแผนแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งเป็นไปด้วยความความสมัครใจของหลายประเทศ
 
หลังเกิดโรคระบาดทั่วโลกแสดงให้เห็นถึงความหลากหลาย (สะท้อนให้เห็นถึงการให้บริการแก่ชุมชนได้ดีแค่ไหน) ความเท่าเทียม (ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสเดียวกันได้) และโดยรวม (ความรู้สึกเป็นเจ้าของ) หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก มีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของคน สหกรณ์มีลักษณะโครงการสร้างที่ครอบคลุมถึงการสร้างช่องทางให้คนที่จะเข้ามาร่วมขบวนการสหกรณ์ถึงแม้จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยให้โอกาสที่ดีกว่าและตอบสนองความต้องการของสตรี เยาวชนและชุมชนชายขอบ
 
วัตถุประสงค์ (Objectives)
เมื่อพูดถึงธุรกิจของสหกรณ์ยังมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการความท้าทายระดับโลกและแสวงหาวิธีที่เร่งรัดส่งเสริมอัตลักษณ์สหกรณ์
 
เพื่อหารือขอบเขตความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมและขบวนการสหกรณ์ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมปัจจุบันให้บรรลุเป้าหมายแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติ (SDGs) ตามผลการสำรวจอัตลักษณ์สหกรณ์ล่าสุดเพื่อพัฒนาความคิดใหม่และเป็นนวัตกรรมเพื่อสภาพแวดล้อมต่อการเติบโตของสหกรณ์ สร้างความยั่งยืนและตอบสนองต่อความท้าทายภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีขึ้นและควบคลุมความหลากหลาย
 
เพื่อค้นหาวิธีดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในการสร้างความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างผู้มีส่วนได้เสียให้ความร่วมมือที่สามารถดำเนินการได้ภายในกรอบเวลาที่ตกลงร่วมกัน
 
ความเป็นมาของ หัวข้อเฉพาะด้านของ “วาระทั่วไปของทุกคน” (Thematic Background – Cooperatives: Our Common Agenda)
วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี 2023 และ 17 เป้าหมายแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติ (SDGs) มองว่าสหกรณ์เป็นตัวช่วยในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นได้ โดยมีบทบาท 3 ประการ ในฐานะผู้สร้างเศรษฐกิจ สร้างโอกาสในการทำงาน  การดำรงชีพและสร้างรายได้ ในฐานะเป็นธุรกิจที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง โดยมีเป้าหมายทางสังคม มีส่วนร่วมในความเท่าเทียมทางสังคมและความยุติธรรม รวมทั้งในฐานะสถาบันประชาธิปไตย ซึ่งควบคุมโดยสมาชิก มีบทบาทนำในสังคมและชุมชนท้องถิ่น
 
การประชุมสุดยอด ว่าด้วย เป้าหมายแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติ (SDGs) ในปี 2566 (The 2023 SDG Summit) จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 20 กันยายน 2566 ระหว่างสัปดาห์ของการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ผู้นำรัฐและรัฐบาลจะเข้าร่วมที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ (UN) ที่นิวยอร์ก เพื่อติดตามและทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2566 และเป้าหมายแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติ (SDGs) การประชุมสุดยอดจะเชิญนักการเมืองและผ่านผู้นำรัฐบาล ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สตรีและเยาวชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นในการประชุมระดับสูงกับประมุขแห่งรัฐและรัฐบาล
 
รายงานความคืบหน้าล่าสุด ระบุว่า โลกยังยังหากไกลจากการบรรลุเป้าหมายภายในปี 2566  การทบทวนตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางการเมืองของเป้าหมายแห่งการพัฒนา (SDGs) มีจำกัด นักวิทยาศาสตร์พบว่า “การเปลี่ยนแปลง” ที่เกิดจากเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นวาทศิลป์ สะท้องให้เห็นถึงวิธี่คนเข้าใจและสื่อสารเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนแต่ไม่มากกว่าทำอย่างไร ที่ทำอยู่ปัจจุบันจึงเป็นตัวอย่างของวาระระหว่างประเทศและเป้าหมายที่เป็นธรรมในการมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากกว่า
 
กระแสหลักของวาระทั่วไป (Common Agenda in the mainstream)
วาระเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี 2566 และเป้าหมายแห่งการพัฒนา เป็นหัวใจในกระแสหลักของ วาระทั่วไปของทุกคน (Our Common Agenda) วาระปี 2566 เป็นแผนปฏิบัติการเพื่อประชาชน เพื่อชาวโลก ความรุ่งเรืองและสันติภาพ ที่ตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนของทุกคนและสร้างสมดุลยภาพสามมิติของการพัฒนาที่ยั่งยืน อันประกอบด้วย เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
 
เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลโลกปัจจุบันและคนรุ่นอนาคต เลขาธิการสหประชาชาติ ได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาวาระร่วมกันและตอบสนองความท้าทายทั้งหลาย รายงานวาระทั่วไปของทุกคนต้องรอถึง 25 ปีข้างหน้าและแสดงออกถึงวิสัยทัศน์ของเลขาธิการ สำหรับอนาคตของความร่วมมือระดับโลก เรียกร้องให้สร้างเครือข่ายพหุภาคีนิยมที่ตอบสนองต่อความท้าทายที่เร่งด่วนที่สุดของคนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง นาย António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ (UN Secretary-General) ได้แถลงการณ์เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 75 ของสหประชาชาติในเดือนกันยายน 2020 ซึ่งได้ดำเนินการหลายอย่างตามที่รายงานโดยสหประชาชาติ โดยจะเร่งความสำเร็จของเป้าหมายแห่งการพัฒนา (SDGs) ไม่น้อยไปกว่าในแง่ช่องว่างและความล่าช้าที่เกิดจากโรคระบาดโควิด 19 และความท้าระดับโลกอื่น ๆ ตามรายงานประกอบด้วยข้อเสนอแนะประมาณ 90 ข้อ เรียกร้องให้มีการตัดสินใจด้านนโยบายและงบประมาณทั้งหมดซึ่งได้รับการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ
 
วาระร่วมทั่วไปสำหรับสหกรณ์ (Common Agenda for Cooperatives)
การระบาดใหญ่ของโควิด 19 ความขัดยังทางสังคมการเมือง ภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่ไม่สามารถแก้ไขได้ทำให้ตื่นตัวในการเรียกร้องให้โลกรับรู้ว่าเรากำลังนั่งอยู่บนระเบิด!  หากผู้คนบนโลกนี้ไม่ดำเนินการเดี๋ยวนี้ จะต้องเผชิญกับผลลัพธ์ที่หายนะเท่านั้น สหกรณ์ที่มีแบบจำลองคนเป็นศูนย์กลาง มีความห่วงใยต่อชุมชน (concern for community) และค่านิยมและหลักการสหกรณ์ ได้พิสูจน์หลายครั้งแล้วว่า โลกที่ดีกว่าเป็นได้ด้วยความร่วมมือ นี่คือเหตุผลที่การมีวาระร่วมกันและการทำงานร่วมกันเพื่อให้ภารกิจของสหกรณ์เข้มแข็งขึ้น
 
องค์การ ICA ได้สร้างลู่ทางและแพลตฟอร์มเพื่อสร้างวาระร่วมกันสำหรับสหกรณ์ สนับสนุนการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจสหกรณ์และสร้างศักยภาพของสมาชิก นับตั้งแต่การประกาศและการปฏิบัติตามปีสหกรณ์สากล ในปี 2555/2012 องค์การ ICA ได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อใช้ “การยอมรับที่สำคัญ” นี้ (momentous recognition) เพื่อประโยชน์ของสมาชิกหลายล้านคนทั่วโลก ตามแผนกลยุทธ์ขององค์การ ICA ในปี 2020/2030 ได้แสวงหาที่จะวางตำแหน่งของสหกรณ์ให้เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับในด้านเศรษฐกิจ ความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รูปแบบที่ต้องการและแบบของธุรกิจที่เติบโตเร็ว การประชุมสหกรณ์โลก ครั้งที่ 33 ในเดือนธันวาคม 2021 ที่กรุงโซล ภายใต้หัวข้อ ความลึกซึ้งในอัตลักษณ์สหกรณ์ (Deepening the Cooperative Identity) ได้สร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งในอัตลักษณ์สหกรณ์ การสำรวจล่าสุดที่ดำเนินการโดยองค์การ ICA ชี้ให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอถามเห็นด้วยว่าอัตลักษณ์สหกรณ์ มีผลกระทบต่อสหกรณ์และมีความเกี่ยวข้องในการแสดงวัตถุประสงค์และธรรมชาติของสหกรณ์ ความรับชอบของสหกรณ์ต่อสังคมในวงกว้างและคนรุ่นต่อไปในอนาคต องค์การ ICA และองค์กรสมาชิกทั่วโลกมุ่งมั่นที่จพส่งเสริมอัตลักษณ์ของสหกรณ์ และสนับสนุนสหกรณ์ให้มีส่วนร่วมในวาระร่วมและอยู่ในตำแหน่งผู้เล่นที่สร้างความความยั่งยืนุ
 
เป็นแบบอย่างที่ดีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Good Practices around the Asia-Pacific Region)
สหกรณ์เป็นส่วนสำคัญของการเติบโตในประเทศอินเดีย สหกรณ์ในอินเดียมีอายุย้อนไปถึง ปี 1903 และมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของอินเดีย ครอบคลุมถึง 98% ในชนบทของอินเดีย มีสหกรณ์ 8.5 แสนแห่งและประชากรกว่า 21.7% มีสหกรณ์เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจในชนบทที่รองรับการดำรงชีพและรายได้ที่ยั่งยืนของคนอินเดีย ความพยามยามของผู้นำสหกรณ์อินเดียส่งผลให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ครั้งที่ 97 ในปี 2011 และยอมรับว่า การจัดตั้งสหกรณ์เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของประชาชน รัฐบาลได้สั่งการให้สร้างภาวะแวดล้อมทางกฏหมายที่เอื้อต่อความเป็นอิสระของสหกรณ์ (autonomous cooperatives) ล่าสุดมีเหตุการณ์พลิกผัน ในบางส่วนของการแก้ไขนี้ได้หยุดชะงักลงในปี 2021 เนื่องจากเกิดความขัดแย้งในโครงการของรัฐบาลอินเดีย ในปี 2021 ได้ตั้งกระทรวงเพื่อความร่วมมือ (Ministry of Cooperation) เพื่อจัดทำกรอบการบริหาร กฎหมาย และนโยบายแยกต่างหากเพื่อเสริมสร้างสหกรณ์ในระดับรัฐ ขณะนี้กระทรวงกำลังทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างนโยบายสหกรณ์ในอินเดีย
 
สหกรณ์ยังเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจในชนบทของญี่ปุ่น ผ่านสหกรณ์การเกษตร ประมงและป่าไม้ จากชนบทสู่เมือง จากชาวนาสู่ผู้บริโภค และรุ่นน้องถึงผู้สูงวัย สหกรณ์มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 1900 สหกรณ์การเกษตรของญี่ปุ่น (Agriculture Cooperative Group – JA) มีอยู่ในทุกหมู่บ้าน เกือบ 100% ของครับครัวชาวนาชาวสวนเป็นสมาชิกสหกรณ์ ทุกหมู่บ้านมีร้านสหกรณ์ และเข้าถึงการเงินสหกรณ์และประกันภัยสหกรณ์ ในญี่ปุ่น มีกฎหมายเฉพาะสหกรณ์ ช่วยให้สร้างความเจริญเติบโตของสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และล่าสุดมีกฎหมายสหกรณ์ผู้ใช้แรงงาน ในปี 2020 (Workers Cooperatives Act) ช่วยสร้างพลังให้กับภาคแรงานมากขึ้น
 
ในประเทศเนปาล สหกรณ์เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจ ในปี 2015-2016 มีสหกรณ์ถึง 33,599 แห่ง มีสมาชิก 6 ล้านครัวเรือน มีเงินฝากถึง 2.82 พันล้านดอลล่าร์ และลงทุน 2.76 พันล้านดอลล่าร์ในภาคการผลิตและบริการ มีเงินสนับสนุนจากภาคสหกรณ์ประมาณ 18% ของ GDP ในปี 2014 สหกรณ์มีบทบาทสำคัญในการลดปัญหาความยากจนโดยการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่สมาชิกสหกรณ์ เพิ่มขีความสามารถให้กับสมาชิกที่อ่อนแอกว่าและช่วยให้สมาชิกเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ
 
ในประเทศอิหร่าน รัฐธรรมนูญ ข้อที่ 43 และ 44 ตระหนักดีว่าเศรษฐกิจของประเทศ มีพื้นฐานมาก 3 ส่วน คือ รัฐบาล สหกรณ์และเอกชน สหกรณ์มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของประเทศโดยการสร้างสมดุลระหว่างกิจกรรมทางเศรษฐกิจและป้องกันการรวมศูนย์ของการควบคุมความมั่นคง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมสาธารณะและการเป็นเจ้าของร่วมและสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกัน ซึ่งรัฐจะต้องสนับสนุนการเงินและเงินกู้แก่ธุรกิจของสหกรณ์และรายย่อย (SMEs)  สหกรณ์มีจุดเด่นด้านเคหสถาน ร้านค้า เกษตร การขนส่ง การทำเหมือง และหัตถกรรม วิสัยทัศน์ ปี 2020 ของสภาหอการค้าอิหร่าน มุ่งไปที่การจัดการสหกรณ์อย่างมืออาชีพโดยการรวมและส่งเสริมความเป็นผู้นำเยาวชนที่มีการศึกษาและมีคุณสมบัติเฉพาะด้าน การมีส่วนร่วมของผู้หญิงและผู้ชายอย่างเท่าเทียมกัน การใช้ไอที และ e-commerce และห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม
 
สหกรณ์เป็นองค์การที่แสดงออกด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เป็นได้ทั้งสังคมและธุรกิจการค้า สหกรณ์จึงเป็นทางเลือกธุรกิจทุนนิยม สหกรณ์คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมขณะดำเนินการธุรกิจ ใส่ใจต่อความสัมพันธ์ของสมาชิก ต่อชุมชนและเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมความหลากหลายและรวมกลุ่ม ทำงานอย่างเปิดเผย สมัครใจและประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับกฎหมายสหกรณ์และคำนึงถึงความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอก สิ่งที่จำเป็นมากกว่านั้นคือการสื่อสารเชิงรุก (proactive communication) กับสิ่งเดียวกันทั้งโลก เช่นเดียวกับที่ทำในประเทศออสเตรเลีย
 
สหกรณ์ในประเทศสิงคโปร์ได้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความยั่งยืน อนาคตของการทำงานและการพัฒนาสหกรณ์ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่ทางเทคโนโลยีและสหกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหกรณ์ผู้ใช้แรงงาน (Worker Coops) ที่มีการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่ได้อย่างดีเยี่ยม รูปแบบของบทบาทที่แตกต่างของการจัดระเบียบแรงงานนอกระบบ เช่น สหภาพแรงงานและสหกรณ์มีบทบาทสำคัญในการทำให้คนงานเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต การสร้างห่วงโซ่อุปทานที่คนงานเป็นเจ้าของและเป็นผู้จัดการ โดยมีบทบาทในฐานะผู้รวบรวมเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีแล้วเชื่อมโยงกับอุปทานทั่วโลก เกือบสามสิบปีหลังก่อตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ (www) ความเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มมีความเข้มข้นมากกว่าเดิม สหกรณ์รุ่นใหม่เสนอทางเลือกทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนะธรรมที่ตอบสนองความท้าทายในปัจจุบันด้วยการขับเคลื่อนโดเมนทางเศรษฐกิจไปสู่ทิศทางที่มีคนและเท่าเทียมกันมากขึ้น
 
ในประเทศฟิลิปปินส์ ตามแนวทางของสำนักงานพัฒนาสหกรณ์ (the Cooperative Development Authority-CDA) เกี่ยวกับเพศและการพัฒนา (Mainstreaming Gender and Development -GAD) ในสหกรณ์มีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและนโยบายการสถาบันเกี่ยวกับเพศและการพัฒนา (GAD)  โครงการและกลไกลการตรวจสอบ คือ การพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศในภาคสหกรณ์โดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากกิจกรรมของสหกรณ์ นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในการเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนของสหกรณ์อีกด้วย
 
เน้นพื้นที่สร้างวาระร่วมสำหรับสหกรณ์ (Focus areas to build the common agenda for Cooperatives)
 
เร่งความเร็วของอัตลักษณ์สหกรณ์ (Accelerate Identity)
องค์การ ICA เป็นผู้นำระดับโลกในการส่งเสริมอัตลักษณ์ คุณค่าและหลักการของขบวนการสหกรณ์ มีการสำรวจล่าสุดขององค์การ ICA เกี่ยวกับอัตลักษณ์สหกรณ์ พบว่า มีความเข้มแข็งแต่ยังไม่คุ้นเคยในระดับสากลกับเอกสารพื้นฐานของอัตลักษณ์สหกรณ์ กลับไปสู่ที่ประชุมสหกรณ์โลก ครั้งที่ 33 องค์การ ICA AP ได้จัดการประชุมหารือออนไลน์กับสมาชิกในปี 2021 เพื่อไตร่ตรอง เรื่อง อัตลักษณ์สหกรณ์ ในการดำเนินงานแต่ละวันและการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า อัตลักษณ์สหกรณ์ ยังถูกมองว่าเป็นพื้นฐานและบูรณการสู่ปัจจัยยังชีพและความเจริญเติบโตของขบวนการสหกรณ์ พบว่า อัตลักษณ์สหกรณ์ ยังถูกเปรียบเสมือนเป็นพื้นฐานและบูรณาการเป็นปัจจัยยังชีพและการเจริญเติบโตของขบวนการสหกรณ์ การดำเนินการของอัตลักษณ์สหกรณ์ ในภูมิภาคขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมนโยบายที่เหมาะสมที่ช่วยให้การปฏิบัติการประยุกต์ใช้ของหลักการ มีความต้องสำหรับสหกรณ์เพื่อเพิ่มความเข้าใจอัตลักษณ์สหกรณ์และดำเนินการที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์สหกรณ์เพื่อแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
 
ก้าวไปสู่เป้าหมาย Advancing the Goals
ปี 2566 กำหนดเครื่องหมายจุดกึ่งกลางของการดำเนินการตามวาระปี 2566 วาระเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้และ17 เป้าหมายแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติ (SDGs) มองว่า สหกรณ์เป็นตัวช่วยสร้างสังคมที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นได้จากบทบาท 3 ประการ ในฐานะนักแสดงทางเศรษฐกิจ สร้างโอกาสในการทำงาน กำดำรงชีวิตและการสร้างรายได้ ในฐานะองค์กรที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางโดยมีเป้าหมายทางสังคม มีส่วนร่วมความเท่าเทียมทางสังคมและความยุติธรรม และในฐานะสถาบันประชาธิปไตย สหกรณ์ถูกควบคุมโดยสมาชิก มีบทบาทนำในสังคมและชุมชนท้องถิ่น สหกรณ์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มี่ส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการเป้าหมายแห่งการพัฒนา (SDGs) และมุ่งเน้นไปที่เป้าหมาย ข้อที่ 1 การขจัดความยากจน (SDG1-no poverty), ข้อ 5 ความเสมอภาคทางเพศ (SDG5-gender equality), ข้อ 8 การเจริญเติบโตอย่างทั่วถึง (SDG8-inclusive growth) และข้อ 13 การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (SDG13-climate action) ความพยายามนี้ได้รับการยอมรับและสะท้อนให้เห็นถึงแผนระดับชาติและการทบทวนแผนระดับชาติโดยสมัครใจ (Voluntary National Reviews-VNR) ของหลายประเทศ ว่าจะมีการพัฒนาบทบาทสหกรณ์ในการดำเนินตามเป้าหมายแห่งการพัฒนา (SDGs) ต่อไปและให้ทัศนะวิสัยและการยอมรับในความพยายามมากขึ้นได้อย่างไร?
 
การจัดการกับความท้าทายภายใน Address Internal Challenges
สหกรณ์เป็นองค์กรที่กระทำด้านสิ่งแวดล้อม สังคมแลธรรมาภิบาล ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เป็นทั้งด้านสังคมและธุรกิจ สหกรณ์เป็นตัวเลือกของธุรกิจนายทุน เป็นธุรกิจที่เห็นถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมขณะดำเนินการกิจกรรม ดูแลความสัมพันธ์สมาชิก ชุมชนและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ส่งเสริมความหลากหลายและการรวมกลุ่ม และทำงานที่เปิดกว้าง สมัครใจและเป็นประชาธิปไตย สอดคล้องตามกฎหมายสหกรณ์แลความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอก สิ่งจำเป็นมากกว่านี้ คือ การสื่อสารเชิงรุกกับสิ่งเดียวกันในโลก
 
การทำให้ปัญหาซับซ้อนขึ้น คือ การขาด หรือ ไม่มีแผนพัฒนา งบประมาณและนโยบายปฏิบัติงาน สหกรณ์ที่ไม่คำนึงขนาด หรือประเภทสหกรณ์ ต้องสร้างคู่มือการปฏิบัติ หรือนโยบายที่ให้ตาข่ายนิรภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมภายในในการใช้เงินทุนและขีดจำกัดการอนุญาตของความเสี่ยงต่อสมาชิกรายบุคคล สถานการณ์นี้ยังสามารถดูได้จากแนวปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลและการจัดการโดยฝ่ายจัดการของสหกรณ์ ขณะที่สหกรณ์อาจสร้างคู่มือนโยบายสำหรับการเลือกตั้งตั้ง หรือแต่งตั้งและจ้างเหมาดำเนินการอาจล้มเหลวเพราะไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเอง
 
การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม (Adapting to Changing Environment)
แม้จะมีความยืดหยุ่นที่แสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตและศักยภาพ แต่สหกรณ์ไม่ใช่กระแสหลักทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ เนื่องอุปสรรคภายใน (ขาดองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล) และอุปสรรคภายนอก (ทางกฎหมายและกฎระเบียบ) รูปแบบสหกรณ์เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้มีบทบาททางเศรษฐกิจที่ช่วยให้บรรลุถึงอนาคตที่ยั่งยืน ดังที่กำหนดไว้ในวาระปี 2566 เพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน เลขาธิการสหประชาชาติ ตระหนักถึงความสำคัญของสหกรณ์ที่เป็นตัวสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมในกลยุทธการฟื้นฟูกโลก ตามรายงานในปี 2021 เรื่อง สหกรณ์และการพัฒนาสังคม ข้อเสนอแนะขององค์การแรงงานสากล ข้อ 193 เรื่อง การส่งเสริมสหกรณ์ยังสนับสนุนให้รัฐบาลส่งเสรอมศักยภาพของสหกรณ์ทุกกประเทศโดยไม่คำนึงถึงระดับการพัฒนา สหกรณ์ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาก่อนสิทธิและการคุ้มครองคนงาน สมาชิกและผู้ใช้ ขบวนการสหกรณ์มีบทบาทในการสนับสนุนการรวมทุกภาคส่วนและยกระดับรูปประชากร
 
การรองรับความหลากหลาย (Accommodating Diversity)
สหกรณ์เชื่อในพลังของเยาชนและสตรี ตามรายงานขององค์การ ICA “คนหนุ่มสาวและสหกรณ์จะจับคู่กันอย่างได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่” แสดงให้ว่าสหกรณ์สามารถมีบทบาทที่สำคัญในการแก้ปัญหาความท้าทายของคนหนุ่มสาวได้ ในขณะที่การมีส่วนร่วมในเป้าหมายแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติ (SDGs) รวมถึงเป้าหมาย ข้อที่ 8 เรื่อง งานที่ดี และข้อที่ 4 เรื่อง คุณภาพทางทางการศึกษา ด้วยการปรับความรู้เรื่องสหกรณ์การสื่อสารผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและโดยการพัฒนาวัฒนธรรมความร่วมมือที่เป็นประชาธิปไตยที่ครอบคลุม รูปแบบธุรกิจสหกรณ์ อาจเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาความท้าทายที่คนรุ่นหนุ่มสาวต้องเผชิญ ยังมีส่วนร่วมในเป้าหมายการพัฒนาของสหประชาชาติ ข้อที่ 5 (SDG5) โดยเพิ่มการเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสทางเศรษฐกิจของผู้หญิง ในญี่ปุ่น สหกรณ์ร้านค้ามีสมาชิกเป็นสตรีถึง 95% และมีตำแหน่งสำคัญด้านธรรมาภิบาล สหกรณ์มีผลกระทบเชิงบวกมากขึ้นต่อผู้หญิงและการรวมอยู่ในกำลังแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นทางการ พวกเขาให้อำนาจผู้หญิงโดยการร่วมมือกับภาคประชาสังคมและได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายที่สนับสนุนสตรีจากภายใน
 
การนำเทคโนโลยีมาใช้ (Adopt Technology)
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อนาคตการทำงานและการพัฒนาสหกรณ์และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่เทคโนโลยีและสหกรณ์ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์ผู้ใช้แรงงานที่มีการรวมผู้เชี่ยวชาญรุ่นเยาว์อย่างมีสติ เขามีบทบาทในรูปแบบต่าง ๆ ของการจัดระเบียบแรงงานเศรษฐกิจนอกระบบ เนื่องจากสหภาพแรงงานและสหกรณ์จะมีบทบาทสำคัญในการทำให้คนงานเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างห่วงโซ่อุปทานที่เป็นเจ้าของและจัดการคนงานเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีและเชื่อมเข้ากับห่วงโซ่อุปทานระดับโลก เกือบสามสิบปีหลังจากก่อตั้ง www. การเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มมีความเข้มข้นมากกว่าที่เคย ความร่วมมือของคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนทางเลือกทางเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมที่ตอบสนองต่อความท้าทายในปัจจุบัน โดยการขับเคลื่อนโดเมนทางเศรษฐกิจไปสู่ทิศทางที่มีมนุษยธรรมและเท่าเทียมกันมากขึ้น
 
หนทางข้างหน้า (Way Forward)
การประชุมวิชาการสหกรณ์ ครั้งที่ 11 (The 11th Asia-Pacific Cooperative Forum) จะพิจารณาถึงโอกาสและความท้าทายที่สำคัญที่จะสร้างวาระร่วมสะหรับสหกรณ์และเขียนวิธีดำเนินการที่เป็นรูปธรรมและทำได้
 
ผู้จัดการประชุม (The Organizers)
องค์การ ICA สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร่วมมือกับเครือข่ายสหกรณ์ฟิลิปปินส์ (Philippines Cooperative Affiliates-PCA) เป็นตัวแทนของขบวนการสหกรณ์ในประเทศฟิลิปปินส์
 
องค์การ ICA สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (International Cooperative Alliance – Asia and Pacific)
องค์การ ICA สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ICA-AP) เป็นหนึ่งใน 4 สำนักงานระดับภูมิภาคขององค์การ ก่อตั้งขึ้นในปี 1960 ณ กรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย องค์การ ICA เป็นศูนย์รวม ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก มีสมาชิก 111 องค์กรจาก 29 ประเทศ (ปี พ.ศ. 2565) ครอมคลุมหลากหลายภาคส่วน เช่น ภาคเกษตร เครดิตและการธนาคาร ร้านค้า การศึกษา ประมง ป่าไม้ สุขภาพ เคหสถานและประกันภัย

รายชื่อเครือข่ายสหกรณ์ในฟิลิปปินส์ (Philippines Cooperative Affiliates - PCA)
1   Cooperative Insurance of the Philippines (1CISP)
2.  Aurora Integrated Multi-Purpose Cooperative (AIMCoop)
3.   Climbs Life and General Insurance Cooperatives (CLIMBS)
4.   Federation of Peoples' Sustainable Development Cooperative (FPSDC)
5.   MASS SPECC Cooperative Development Center (MASS SPECC)
6.   Metro South Cooperative Bank (MSCB)
7.   Natcco Network of Cooperatives (NATCCO)
8.   Network Consolidated Cooperative Bank (NCCB)
9.   Philippine Cooperative Center (PCC)
10. Union of Legitimate Service Contracting Cooperatives (ULSCC)
11. Victo National Cooperative Federation and Development Center (VICTO National)
12. Cooperative Development Authority (CDA)
 
ข้อมูลโดย : ฝ่ายกิจการระหว่างประเทศและส่งเสริมธุรกิจการค้า สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย