สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์

5 กล ปั้นตน ให้เป็นแบรนด์ มุ่งทำการตลาดแทนการให้สินเชื่อ

โดย นายกมลศักดิ์ นันตา
 วันที่ 21 ก.ค. 2565 เวลา 14:11 น.
 511
UploadImage

5 กล ปั้นตน ให้เป็นแบรนด์ มุ่งทำการตลาดแทนการให้สินเชื่อ

 
ถ้าเอ่ยถึงคำว่า “สหกรณ์” คงไม่มีใครรู้เรื่องสหกรณ์ได้ดีกว่าบุคลากรทางสหกรณ์ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นผู้เขียนจึงขอหยิบความหมายของคำว่า “สหกรณ์”  ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นิยามไว้ว่าคือ "คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกสหกรณ์ผู้มีสัญชาติไทย โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้” จากนิยามนี้ สหกรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้มวลสมาชิกได้ประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่  ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจธนกิจหรือการรับฝากเงิน ธุรกิจรวมซื้อ ธุรกิจรวมขาย ธุรกิจบริการ ธุรกิจแปรรูปและการส่งออก แม้การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจนี้จะมิได้มุ่งแสวงหากำไร แต่ต้องการส่วนเหลื่อมเพื่อนำมาจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์กลับคืนแก่สมาชิกผู้เป็นเจ้าของกิจการในรูปเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืน ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจสินเชื่อ เป็นกิจกรรมทางธุรกิจยืนหนึ่งที่สมาชิกใช้บริการสูงสุด  มีรายได้จากการเรียกเก็บดอกเบี้ย มีเส้นทางการใช้ไปของเงินทุนอยู่ในรูปลูกหนี้เงินกู้  จนกะทั่งช่วงปลายปี พ.ศ.2563  ธุรกิจสินเชื่อเกิดวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค 19  ซึ่งรุนแรงจนเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานหลายแห่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงงานและเป็นผู้รับภาระในการชำระหนี้ของครัวเรือนสมาชิก เมื่อขาดรายได้จึงกระทบต่อวินัยทางการเงิน  ของสมาชิก และสภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์ลดลงจากหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น หลายสหกรณ์จึงเริ่มปรับแผนกลยุทธ์หันมาทำการตลาดและนำสินค้าแปรรูปของสหกรณ์ออกจำหน่าย แต่ด้วยสินค้าสหกรณ์มีสภาพการแข่งขันน้อย  ปรับตัวได้ช้ากว่าคู่แข่งทางธุรกิจอื่น และรู้จักเฉพาะในเครือข่ายสหกรณ์ด้วยกัน
 
ในภาวะที่ผู้บริโภคเกิดการปรับตัวสูง  ผู้เขียนเห็นด้วยหากสหกรณ์จะทำการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ผ่านแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ เพื่อผลักดันให้สินค้าสหกรณ์ติดตาต้องใจผู้บริโภคได้มากขึ้น  ยิ่งมีการจัดกิจกรรมโฆษณาขายสินค้าไปผ่านช่องทาง Facebook,  Google,  You Tube,   Instagram,  Line, Tik Tok  ย่อมช่วยให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตได้จำนวนมาก ทำการตลาดได้โดยไม่ต้องมีสถานที่ ไม่ต้องใช้งบลงทุน ไม่ต้องใช้งบจัดหาอุปกรณ์การตลาดที่มีราคาสูง และสามารถปรับรูปแบบหรือจัดโปรโมชั่นใหม่ๆ ให้โดนใจกลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ได้ง่ายและรวดเร็ว เพียงใช้อุปกรณ์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนที่สามารถเชื่อมต่อ Internet เครื่องเดียวก็เอาอยู่ แต่ทว่าในข้อดีย่อมมีข้อเสีย คือ การใดที่มีต้นทุนต่ำย่อมเกิดการแข่งขันสูง เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงและเอื้อมได้มากหรือน้อยสหกรณ์ต้องมีกลยุทธ์ที่ดีๆ อย่างน้อย 5 กล เพื่อปั้นตนให้เป็นแบรนด์เพื่อรักษากลุ่มลูกค้าเก่าให้มั่นคง ต้องหมั่นสร้าง connection กับกลุ่มลูกค้ารายใหม่ วิธีการปั้นตนด้วยการสร้างคอนเทนต์ ให้ผู้คนจดจำได้ง่ายๆ  มี 5 กลวิธี ดังนี้
 
1.เลือกเวลาออกหน้ากล้อง LIVE ให้ความรู้ และรับฟังเขา
2.ทำคอนเทนต์ที่เน้นแชร์ แต่ต้องไม่ซ้ำใคร และเรียบง่าย
3.คอนเทนต์ต้องเกี่ยวข้องกับตัวสินค้า และกลุ่มลูกค้าของสหกรณ์
4.วางแผนก่อนเขียนพาดหัว เลือกเรื่องที่สำคัญ เน้นใช้คำให้ปังๆ
5.เจาะกลุ่มไหนใช้คอนเทนต์ให้โดนใจคนกลุ่มนั้น
 
          เมื่อมีคอนเทนต์ที่ดีแล้ว สิ่งสำคัญอีกอันที่สหกรณ์ไม่ควรลืม คือ การทำระบบลอจิสติกส์ (logistics)
ให้เหมาะสมกับขนาดและปริมาณสินค้าสหกรณ์  การมีระบบการขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดต้นทางของสหกรณ์ไปยังจุดบริโภคตามคำสั่งซื้อของลูกค้า จะช่วยให้จัดการด้านการส่งสินค้า และการบริการ(Service)   มีความสะดวก ทันสมัย จะช่วยสร้างโอกาส สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่าย หากสินค้านั้นสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าในยุคดิจิตอลได้ชนิดตรงปก มีคุณภาพ และได้มาตรฐานย่อมเป็นผลดียิ่งขึ้นหากลูกค้ากลับมาสั่งซื้อซ้ำ ซึ่งประเด็นหลังนี้มิใช่เพียงสหกรณ์ต้องการ แต่บรรดากลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ล้วนต้องการเช่นกัน  ผู้เขียนจึงเห็นด้วยกับการที่สหกรณ์หลายแห่งเริ่มมีการขยับปรับกลยุทธ์องค์กรหันมาทำการตลาดให้สินค้าสหกรณ์มีความปังมากขึ้น ทดแทนการให้สินเชื่อที่เริ่มฝืดจนแทบขยับขับแข่งกับสถาบันการเงินอื่นที่มีกิจกรรมทางธุรกิจแบบเดียวกันไม่ได้ การสร้างคอนเทนต์การตลาด จึงนับเป็นวิธีเปิดตัว ที่ชาญฉลาด และปรับ real time ไว้รองรับเศรษฐกิจและดำเนินการได้ทันทีที่มีการปลดล็อคมาตรการโควิด-19.



UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage
 
นาง กาญจนา พิมพิมูล
นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม