Home
โทร 02 669 3254 - 63 |
Sitemap
|
สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
CO-OPERATIVE LEAGUE OF THAILAND
เมนู
สันนิบาตสหกรณ์ฯ
ประวัติสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ทำเนียบผู้บริหารสันนิบาตแห่งประเทศไทย
วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
นโยบายการดำเนินการ
อำนาจหน้าที่
แผนพัฒนาสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ระเบียบสันนิบาตสหกรณ์ฯ ว่าด้วย สันนิบาตจังหวัด พ.ศ. 2562
ระเบียบสันนิบาตสหกรณ์ฯ ว่าด้วย การให้การศึกษาฝึกอบรมวิชาการสหกรณ์ฯ พ.ศ. 2567
แผนที่ สันนิบาตสหกรณ์ฯ
ระบบงาน สันนิบาตสหกรณ์ฯ
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างผู้บริหาร
คณะกรรมการดำเนินการฯ ชุดที่ 26
หน่วยงานภายใน
ผู้อำนวยการ
สายงานบริหาร
สายงานส่งเสริมสหกรณ์
สถาบันพิทยาลงกรณ์
สำนักยุทธศาสตร์และกฎหมาย
ฝ่ายตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับสหกรณ์
ประวัติพระบิดา
วิวัฒนาการสหกรณ์ไทย
ประเภทสหกรณ์
หลักการณ์ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์
ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 (ฉบับสมบูรณ์)
สารสนเทศสหกรณ์
ผลิตภัณฑ์สหกรณ์
ติดต่อเรา
ข่าวประชาสัมพันธ์
หน้าแรก
ข่าวประชาสัมพันธ์
กสส.จัดงบเงินกู้ 1.8 พันล. ช่วย 251 สหกรณ์ ปรับโครงสร้างภาคเกษตรสู้วิกฤติโควิด-19
โดย นางสาวสุภ์จิตรา ปิยะจันทร์
วันที่ 28 มิ.ย. 2564 เวลา 16:16 น.
932
จัดงบเงินกู้ 1.8 พันล. ช่วย 251 สหกรณ์ ปรับโครงสร้างภาคเกษตรสู้วิกฤติโควิด-19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเกษตรจะเห็นได้ว่าแหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรหลายแหล่งหยุดให้บริการ เกษตรกรไม่สามารถออกนอกพื้นที่เพื่อขายผลผลิตได้ ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายส่งผลกระทบต่อรายได้และอาชีพของเกษตรกร
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้สหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 4,509 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจำนวน 4,661 กลุ่ม รวมไม่น้อยกว่า 9,170 แห่ง ซึ่งเป็นองค์ธุรกิจในระดับชุมชนเป็นที่พึ่งให้กับเกษตรกรสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป จึงได้จัดทำโครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวมและการแปรรูปผลผลิตของสถาบันเกษตรกร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับศักยภาพสถาบันเกษตรกรให้เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิตและเป็นกลไกหลักในระดับชุมชนในการอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป ในการเพาะปลูก การรวบรวม จัดเก็บและแปรรูปผลผลิตการเกษตรรูป ในกรอบวงเงิน 1,881,674,900 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ที่ได้อนุมัติโครงการปรับโครงสร้างภาคการเกษตรเพื่อรองรับผลผลิตสถาบันเกษตรกรของกรมส่งเสริมสหกรณ์
โดยมีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้เสนอโครงการเข้ามาและผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการฯและสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช) จำนวน 251 แห่งใน 60 จังหวัด รวม 486 รายการ ซึ่งสามารถช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกมากกว่า 2.7 หมื่นราย
“เงินก้อนนี้เป็นเงินกู้ของรัฐบาลที่นำมาฟื้นฟูเยียวยาเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในวงเงิน 1,881 พันล้านบาท โดยรัฐอุดหนุนงบไม่น้อยกว่า 90% อีก 10% ให้สหกรณ์จ่ายสมทบ”
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวถึงที่มาของเงินในโครงการจ่ายให้กับสหกรณ์ (ชั้นดี) เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาจะต้องเป็นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายอยู่ในระดับมาตรฐานสหกรณ์ชั้น 1 หรือชั้น 2 และผ่านมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรในการขอรับเงินอุดหนุน
“สหกรณ์จะต้องจัดทำแผนธุรกิจที่ชัดเจนและไม่มีปัญหาทางการเงินและบัญชี มีที่ดินเป็นของตนเองหรือกรณีเป็นที่ดินของรัฐจะต้องมีหนังสือรับรองการใช้ประโยชน์หรือสิทธิเหนือพื้นดินและไม่มีภาระผูกพันการค้ำประกันจำนอง ยกเว้นติดจำนองกับกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จึงจะสามารถทำโครงการขอรับทุนอุดหนุนจากเงินก้อนนี้ได้” นายวิศิษฐ์กล่าว
สำหรับอุปกรณ์การตลาดที่กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดหาให้นั้น อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เผยว่าจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มครุภัณฑ์การเกษตร กลุ่มยานพาหนะและขนส่ง และกลุ่มสิ่งปลูกสร้างเพื่อรวบรวมและแปรรูปผลผลิต
โดยกลุ่มแรกนั้นได้แก่ เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง รถตักล้อยาง รถแทรกเตอร์ ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ทางสหกรณ์ จะนำไปให้บริการแก่สมาชิกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รับจ้าง ตัดวัชพืชหรือสมาชิกสามารถหยิบยืมไปใช้งานก็ได้ขึ้น ทั้งนี้อยู่กับการให้บริการของแต่ละสหกรณ์
ส่วนกลุ่มที่สองเป็นยานพาหนะขนส่ง เช่น รถห้องเย็น รถบรรทุก 6 ล้อ 10 ล้อที่จะขนผลผลิตออกสู่ตลาด โดยเน้นไปที่สหกรณ์ปลูกพืชผักปลอดสารพิษที่ผลผลิตมักเน่าเสียง่าย หรือสหกรณ์โคนมใช้ขนส่งน้ำนมดิน สหกรณ์เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ที่ต้องการใช้ห้องเย็นหรือรถห้องเย็นในการเก็บเพื่อยืดอายุผลผลิต จึงจำเป็นต้องมีรถห้องเย็นขนาด 1 ตัน หรือ 6 ตัน และสุดท้ายเป็นกลุ่มสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ เครื่องอบลดความชื้น โรงสี ลานตาก โกดังเก็บผลผลิต รวมถึงอุปกรณ์การแปรรูปต่าง ๆ
“ที่ได้รับผลโดยตรงจากโครงการนี้ ตามตัวชี้วัดที่เราตั้งไว้ คือตัวสมาชิกก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อปี สหกรณ์สามารถรวบรวมผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 8 แสนตันต่อปี มีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้นกว่า 105 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 3.5% เมื่อเทียบจากตัวเลขของเดิมที่รวบรวมไว้ในปี 2563” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์กล่าวย้ำ
อย่างไรก็ตามล่าสุดเงินก้อนดังกล่าวได้โอนไปยังสำนักงานสหกรณ์จังหวัดต่าง ๆ ที่มีโครงการฯเกือบจะร้อยเปอร์เซนต์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้โครงการที่ขอสนับสนุนสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ เช่น ลานตาก โรงอบลดความชื้น โรงเก็บผลผลิต อยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง หากได้ตัวผู้รับจ้างแล้ว คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จไม่เกิน 1-2 เดือนสามารถรองรับผลผลิตได้ทันในฤดูกาลผลิตปีนี้ ส่วนกลุ่มครุภัณฑ์การเกษตรและกลุ่มยานยนต์พาหนะขนส่ง ส่วนใหญ่ได้มีการจัดซื้อเรียบร้อยพร้อมใช้งานได้แล้ว
นายณัฐพล แป้นนอก สหกรณ์จังหวัด (สกจ.) ร้อยเอ็ดเผยว่าในส่วนของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับเงินกู้ก้อนดังกล่าวมาจำนวนทั้งสิ้น 9 ล้านบาทใน 4 สหกรณ์ ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรจตุรพักตรพิมาน จำกัด สหกรณ์การเกษตรอาจสามารถ จำกัด สหกรณ์การเกษตรโพธิ์ชัย จำกัด และสหกรณ์การเกษตรหนองพอก จำกัด ซึ่งประกอบด้วยลานตาก ขนาด 3,200 ตารางเมตร รถโฟล์คลิฟท์ รถตักล้อยาง และรถแทรคเตอร์ 24 แรงม้า
“ที่ขอลานตากมี 3 สหกรณ์ มีจตุรพักตรพิมาน อาจสามารถและโพธิ์ชัย ส่วนหนองพอกขอรถแทรคเตอร์อย่างเดียว และจตุรพักตรพิมานขอมากที่สุด 3 อย่างมีลานตาก รถโฟล์คลิฟท์ และรถตักล้อยาง เพราะสหกรณ์จตุรพักตรพิมานมีผลผลิตข้าวเยอะ 90% เป็นข้าวหอมมะลิ แต่อุปกรณ์การตลาดมีน้อย” สหกรณ์จังหวัด (สกจ.) ร้อยเอ็ดกล่าว และย้ำว่าการได้อุปกรณ์มาใหม่น่าจะช่วยทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ ของสหกรณ์ดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิออกสู่ตลาดมากที่สุด
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน จ.ร้อยเอ็ด มีสหกรณ์การเกษตรทั้งหมด 18 สหกรณ์ สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาปลูกข้าวหอมมะลิเป็นหลัก รองมาเป็นข้าวขาวและข้าวเหนียว โดยมีสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีโรงสีเป็นของตัวเอง จำนวน 6 สหกรณ์และสามารถรวบรวมผลผลิตข้าวได้ประมาณ 1.6 แสนตันต่อปี
ขณะที่นายภาณุษิต ปั๋มป้อม ประธานกรรมการสหกรณ์โคนมเชียงใหม่ จำกัด กล่าวยอมรับว่าก่อนหน้านี้สหกรณ์ ได้กู้เงินจากงบกลางของรัฐบาลผ่านทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ดอกเบี้ยร้อยละ 1 จำนวน 5 ล้านบาทเพื่อนำมาปรับปรุงมาตรฐานฟาร์มและปีนี้สหกรณ์ยังได้ทำโครงการซื้อรถห้องเย็นสี่ล้อเล็กเพื่อขนส่งผลิตภัณฑ์นมให้กับลูกค้าในตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งก็ได้รับเงินอุดหนุนจากรมส่งเสริมสหกรณ์จำนวน 1 ล้านบาท โดยสหกรณ์ร่วมสมทบร้อยละ 10 ซึ่งก็จะทำให้ลูกค้าได้รับบริการ ที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
“ปัญหาตอนนี้ก็มีคูลเลอร์แท๊งค์ที่ใช้สำหรับเก็บน้ำนมดิบ ซึ่งมีอายุการใช้งานมานานเกือบ 30 ปีแล้ว อยากจะปรับปรุงใหม่ รวมทั้งแลคเกอร์ชั้นวางผลิตภัณฑ์นม ซึ่งขณะนี้ยังไม่เพียงพอจะต้องสร้างเพิ่ม” ประธานกรรมการสหกรณ์โคนมเชียงใหม่ จำกัด กล่าวย้ำ
งบเงินกู้สี่แสนล้านของรัฐบาล นับเป็นอีกช่องทางในการช่วยเหลือกลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจหลักในระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็งเพื่อฟื้นฟูเยียวยาระบบเศรษฐกิจฐานรากต่อไป
กิจกรรมล่าล่าสุด
28 มิ.ย. 64
“การประเมินสินทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์” รุ่นที่ 1
333 ครั้ง
28 มิ.ย. 64
ประธานฯ สสท. เปิดอบรมผู้นำกับการบริหารกิจการสหกรณ์ยุคใหม่ฯ (28 มีนาคม 2568)
38 ครั้ง
28 มิ.ย. 64
ประธานฯ สสท. ปิดอบรม เทคนิคการลงทุนสหกรณ์ฯ พร้อมมอบวุฒิบัตร
101 ครั้ง
28 มิ.ย. 64
คณะกรรมการสันนิบาตสหกรณ์จังหวัดระนอง ชุดที่ 2
75 ครั้ง
28 มิ.ย. 64
บทความพิเศษ : หลักธรรมาภิบาลสหกรณ์
81 ครั้ง
ดูทั้งหมด
เราใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานจากการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราและเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูลและ เนื้อหาต่างๆ ที่ผู้เข้าใช้งานจะได้รับชม
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โดยทางเว็บไซต์จะสร้างไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดเล็กไว้ในอินเตอร์เน็ตเบราว์เซอร์ของผู้เข้าใช้งาน เพื่อเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานของท่าน รวมถึงเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการต่างๆ ภายในเว็บไซต์ของเรา และเมื่อผู้เข้าใช้งานกลับมาเยี่ยมชม หรือกลับเข้ามาใช้บริการในครั้งต่อไป แต่การเก็บข้อมูลด้วยคุกกี้จะไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆของท่าน การยอมรับนี้จะไม่ทำให้เครื่องของท่านติดไวรัส หรือมัลแวร์แต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อทำการวิเคราะห์ซึ่งอาจทำหรือให้บริการโดยบุคคลอื่นที่ให้บริการหรือได้รับมอบหมายให้กระทำแทนในนามของเรา เช่น Google Analytic เป็นต้น เมื่อผู้เข้าใช้งานมีการกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์โดยไม่เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าคุกกี้บนอินเตอร์เน็ตเบราส์เซอร์ อุปกรณ์ของผู้ใช้งานจะยอมรับคุ๊กกี้อัตโนมัติในการเข้าใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งถ้าหากผู้เข้าใช้งานไม่ต้องการให้คุกกี๊ทำการรวบรวมข้อมูล ผู้ใช้งานสามารถเลือกเปลี่ยนแปลง หรือตั้งค่าการยอมรับคุกกี๊ได้ที่เมนู "การตั้งค่า" ของอินเตอร์เน็ตเบราว์เซอร์ที่ใช้งานอยู่
ยอมรับ