สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ข่าวกิจกรรม

“การสหกรณ์ในประเทศไทย”

โดย นายกมลศักดิ์ นันตา
 วันที่ 13 ก.ย. 2566 เวลา 09:34 น.
 673
 
UploadImage

“การสหกรณ์ในประเทศไทย”

 
          “...ความมุ่งหมายของการจัดสหกรณ์ที่เป็นแก่นแท้ๆ ควรเรียกได้ว่าหัวใจสหกรณ์นั้นมีอยู่ ๒ ข้อ
คือ ๑. ออมทรัพย์ ๒. ช่วยกันช่วยตัวเอง…”
“….สหกรณ์เป็นเครื่องบำรุงการออมทรัพย์ และการออมทรัพย์เป็นหัวใจของการสหกรณ์ สมาชิกทุกคนต้องรู้ความข้อนี้ สำหรับตนเองและสำหรับสหกรณ์ด้วย….”
“สมาชิกสหกรณ์ คือ ผู้ที่ขจัดแล้ว ซึ่งความเห็นแก่ตัว และความไม่ซื่อ”
 
คำชี้แจงเรื่องสหกรณ์ ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
ทรงแสดงแก่สมาชิกสหกรณ์ประเภทหาทุน ในจังหวัดลพบุรี
เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๖

 
UploadImage
 
 
“การสหกรณ์ในประเทศไทย”

UploadImage

 
จากการพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการเลิกทาส เปลี่ยนแปลงระบบราชการ สร้างสาธารณูปโภคและการติดต่อซื้อขายกับต่างประเทศมีมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจฐานรากของประชาชนก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อเลี้ยงตัวเอง มาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้า จนทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน ความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิตและการครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเอง จึงหันไปกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น ทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงและยังถูกเอาเปรียบจากพ่อค้า นายทุนทุกวิถีทาง การทำนายังคงมีผลผลิตที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าทำให้หนี้สินพอกพูนมากขึ้น จนลูกหนี้บางรายต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่นาให้แก่เจ้าหนี้ และกลายเป็นผู้เช่านา หรือเร่ร่อนไม่มีที่ทำกินไปในที่สุด

 
ทางออกของปัญหา

UploadImage
 
"พระยาสุริยานุวัตร” นักเศรษฐศาสตร์คนแรกของไทย ผู้เขียนตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของสยาม (วิชาต้องห้ามในอดีต) เป็นที่มาของการเรียนรู้เรื่อง “การสหกรณ์” ในปัจจุบัน
พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค ๒๔๐๕-๒๔๗๙) เป็นบุตรพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) สมุหกลาโหมฝ่ายเหนือ กับ นางศิลา เมื่อแรกรับราชการมีตำแหน่งเป็นมหาดเล็กวิเศษ (เวรฤทธิ์) ภายหลังได้เลื่อนขั้นตำแหน่งตามโอกาสเป็นอัครราชทูตประจำประเทศฝรั่งเสศ อิตาลี สเปน และรัสเซีย เป็นผู้ดูแลพระราชโอรสของรัชกาลที่ ๕ ที่ศึกษาอยู่ในยุโรป ฯลฯ
พ.ศ. ๒๔๔๙ พระยาสุริยานุวัตรได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกระกระทรวงการคลัง (มิ.ย. ๒๔๔๙-ก.พ. ๒๔๕๐)
พระยาสุริยานุวัตร เขียนตำราเศรษฐศาสตร์ ที่ชื่อว่า “ทรัพยศาสตร์” หนังสือวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของสยาม ในปี ๒๔๕๔
อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายเพยแพร่ ทรัพยศาสตร์ ไม่ได้ดำเนินการโดยง่ายเพราะฝ่ายราชการขณะนั้นได้ขอร้องผู้พิมพ์ไม่ให้เผยแพร่
และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ รัฐบาลประกาศห้ามสอนลัทธิเศรษฐศาสตร์ ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามกฎหมายอาญา
“ทรัพยศาสตร์” ที่พระยาสุริยานุวัตรเขียนไว้ ได้แบ่งปัจจัยการผลิตออกเป็น ๓ ประการ คือ ที่ดิน แรงทำการ และทุน
 
ในทัศนะของพระยาสุริยานุวัตร ทุนนับเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเป็นไปได้สำเร็จ การลงทุนทำให้เกิดผลประโยชน์และทรัพย์ได้ต่อไป ประเทศที่มีการลงทุนมากจึงเจริญก้าวหน้ารวดเร็ว โดยยกตัวอย่างชาวนาไทยที่เสียเปรียบเพราะมีทุนน้อยว่า
“ชาวนาที่ยากจนขัดสนด้วยทุน ต้องออกแรงทำงานแต่ลำพังตัวด้วยความเหน็ดเหนื่อย… เสบียงอาหารและผ้านุ่งห่มไม่พอก็ต้องซื้อเชื่อเขาโดยต้องเสียราคาแพง หรือถ้าต้องกู้เงินเขาไปซื้อก็ต้องเสียดอกเบี้ยอย่างแรงเหมือนกัน เมื่อเกี่ยวข้าวได้ผลแล้ว ไม่มีกำลังและพาหนะพอจะขนไปลานนวดเท้า หรือไม่มียุ้งฉางสำหรับเก็บข้าวไปขาย เมื่อเวลาเข้าในตลาดขึ้นราคาก็ต้องจำเป็นขายข้าวเสียแต่เมื่ออยู่ในลานนั่นเอง จะได้ราคาต่ำสักเท่าใดก็ต้องจำใจขาย มิฉะนั้นจะไม่ได้เงินใช้หนี้เขาทันกำหนดสัญญา”
 
เมื่อครั้งที่ยังรับราชการพระยาสุริยานุวัตรเคยเขียนหนังสือกราบทูลกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการว่าไม่เห็นด้วยกับการกู้เงินต่างชาติ ๑ ล้านปอนด์ มาทางสร้างรถไฟ แต่ควรนำเงินจำนวนดังกล่าวมาอุดหนุนเกษตรกรด้วยการจัดตั้งธนาคารชาติ เพื่อออกเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้ชาวนาในการเพิ่มผลผลิต แล้วรัฐบาลจึงค่อยกู้เงินจากธนาคารชาติที่ได้กำไรจากการปล่อยกู้แก่ชาวนาไปสร้างรถไฟภายหลัง
ความหมายของทุนก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะ “เงินทุน” เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง ทรัพยกรบุคคลอีกด้วย จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มความรู้ ความชำนาญ ตอนหนึ่งใน “ทรัพยศาสตร์” จึงกล่าวว่า

 “ไม่มีการจ่ายเงินอย่างใดที่จะทำประโยชน์ได้เป็นผลกลับคืนมายิ่งกว่าที่รัฐบาลจะใช้จ่ายเงินในการบํารุงการศึกษาของชาติ” จึงเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการศึกษาขั้นต่ำในชั้นประถมศึกษาโดยไม่เก็บเงินให้ประชาชนทุกคน
แม้พระยาสุริยานุวัตรจะไม่เห็นด้วยกับการเอารัดเอาเปรียบในระบบการแข่งขันแต่ก็ไม่ต้องการให้ล้มเลิกระบบกรรมสิทธิส่วนบุคคลนี้เสียทีเดียว เพราะหากเลิกระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล แล้วริบเอาเป็นของกลางเสียหมด
ทางออกที่เสนอไว้ใน “ทรัพยศาสตร์” คือ “สหกรณ์” ด้วยวิธีนี้แรงงานยังมีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต แต่นำเอาปัจจัยนั้นมาร่วมกันในการผลิต ต่างมีส่วนในการจัดการและแบ่งปันผลผลิต ตามแรงและทุนที่ร่วมกันลงไป แรงงานเป็นเจ้าของทุนด้วยในขณะเดียวกัน ความอริวิวาทในระหว่างนายทุนกับแรงงานจะไม่มี ระบบนี้ยังให้ความยุติธรรมในการปันกำไร ให้แก่แรงงานที่เป็นเจ้าของทุนด้วยตามความเหน็ดเหนื่อย
นอกจากนี้ในกรณีที่นายทุนขูดรีดไม่ยอมแบ่งปันผลผลิตส่วนเกินให้แก่แรงงาน ฝ่ายแรงงานควรจัดตั้ง “สมาคมคนทำงาน” เพื่อใช้ต่อรองกับนายทุน เพราะแรงงานที่ร่วมกันย่อมมีกำลังมากที่ทำให้นายทุนต้องใส่ใจ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการนัดหยุดงาน
 
ทางออกที่เสนอไว้ใน “ทรัพยศาสตร์” คือ “โคออเปอราทีฟ โซไซตี้” (Cooperative Society) ด้วยวิธีนี้แรงงานยังมีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต แต่นำเอาปัจจัยนั้นมาร่วมกันในการผลิต ต่างมีส่วนในการจัดการและแบ่งปันผลผลิตตามแรงและทุนที่ร่วมกันลงไป แรงงานเป็นเจ้าของทุนด้วย ในขณะเดียวกัน ความอริวิวาทในระหว่างนายทุนกับแรงงานจะไม่มี ระบบนี้ยังให้ความยุติธรรมในการปันกำไรให้แก่แรงงานที่เป็นเจ้าของทุนด้วยตามความเหน็ดเหนื่อย
 

 
ริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์

UploadImage
 
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้เชิญ เซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ (Sir Bernard Hunter) หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราช ประเทศอินเดีย เข้ามาสำรวจหาลู่ทางช่วยเหลือชาวนา
เซอร์เบอร์นาร์ด เสนอว่าควรจัดตั้ง "ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ" (National Loan Bank) ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพื่อป้องกันมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินทอดทิ้งที่นาหลบหนี้สิน
ส่วนการควบคุมมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินทอดทิ้งที่นาและหลบหนี้สิน แนะนำให้จัดตั้งเป็น “โคออเปอราทีฟ โซไซตี้” (Cooperative Society)
 
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ซึ่งดำรงตำแหน่ง “อธิบดีกรมตรวจและสารบัญชี” ได้ทรงบัญญัติศัพท์คำว่า “Cooperative Society” เป็นภาษาไทยว่า “สมาคมสหกรณ์” และเริ่มต้นการศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้น
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๕๘ ในการประชุม สมุหเทศาภิบาล ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินงานเพื่อชักนำการสหกรณ์มาสู่ประเทศไทย กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้เชิญอุปราชและสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่างๆ มาปรึกษาหารือเกี่ยวกับการริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์ ว่าท้องที่ใดที่เหมาะจะจัดได้บ้าง
ทางการจึงได้ให้มิสเตอร์ เจ.เอ.เคบอล ขึ้นไปยังจังหวัดพิษณุโลก เพื่อสำรวจลู่ทางที่จะจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้นเป็นการทดลองดูก่อน ว่าจะมีทางเป็นไปได้ประการใด
เหตุที่ทางการได้เลือกเอาจังหวัดพิษณุโลกเป็นท้องที่ดำเนินการชั้นทดลองนี้ ก็โดยเห็นว่าเป็นท้องที่ที่มีกสิกรเป็นผู้อัตคัดและมีหนี้สินมากสมควรให้ความช่วยเหลือโดยวิธีการสหกรณ์ก่อน
หลังจากได้ดำเนินการเพื่อจัดตั้งเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลได้ให้จัดตั้ง “แผนกการสหกรณ์” สังกัดกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อรับผิดชอบด้านการสหกรณ์โดยเฉพาะ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘ และแต่งตั้งให้ “พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์” เป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ และเป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรกด้วย
 
UploadImage


เอกสารการเผยแพร่การสหกรณ์เล่มแรก ซึ่งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ พิมพ์แจก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘
 
 
ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้มีการตราเป็นพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๕๙  ซึ่งถือเป็นกฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก สำหรับใช้จดทะเบียนสหกรณ์ไปก่อนเป็นการชั่วคราว และมีการทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้นเป็นแห่งแรก ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
เหตุที่เลือกพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นพื้นที่ทดลองจัดสหกรณ์เป็นแห่งแรก โดยพิจารณาจากความเป็นอยู่ของราษฎรที่ค่อนข้างยากจน รวมถึงมีพื้นที่ว่างมากพอที่จะให้ราษฎรสามารถจับจองเพื่อทำนาได้ และที่สำคัญส่วนราชการขณะนั้นให้การสนับสนุนมาก


 
UploadImage
 

ดังจะเห็นได้จากข้อความตอนหนึ่งที่ พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) ได้เขียนประสบการณ์ เกี่ยวกับการจัดสหกรณ์ไว้ในหนังสือ ๕๐ ปี ของการจัดสหกรณ์ ว่า
“การริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์หาทุนในจังหวัดพิษณุโลกเป็นแห่งแรกนั้น เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา) สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก เป็นผู้สนใจงานสหกรณ์และได้ร้องให้จัดตั้งเป็นตัวอย่างในจังหวัดพิษณุโลกก่อน”

 
UploadImage
 

จึงได้มีการทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้นเป็นแห่งแรก ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ใช้ชื่อว่า “สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้” จดทะเบียนเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙ (ถือเป็นวันสหกรณ์แห่งชาติ) เลขทะเบียนที่ ๑/๑ มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นนายทะเบียนรับจดทะเบียน นับเป็นการเริ่มต้นการสหกรณ์ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ โดยจดทะเบียนภายใต้พระราชบัญญัติสมาคม ซึ่งได้มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ สมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๕๙ สำหรับใช้จดทะเบียนสหกรณ์ไปก่อนเป็นการชั่วคราว
 

๔ ปฐมบท แห่งการสหกรณ์ไทย

UploadImage
 
  1. นายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรกของไทย
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ (ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ แรม ๑๑ ค่ำ ปีชวด) ในพระบวรราชวัง ทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้า ยอดยิ่งยศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ธิดานายสุดจินดา (พลอย ชูโต) มีพระเชษฐภคินีร่วมมารดาหนึ่งพระองค์ คือ พระองค์เจ้าภัททาวดีศรีราชธิดา (พ.ศ. ๒๔๑๔ - ๒๔๔๒) พ.ศ. ๒๔๕๘ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้เชิญอุปราชและสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่าง ๆมาปรึกษาหารือเกี่ยวกับการริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์ ว่าท้องที่ใดที่เหมาะจะจัดได้บ้าง นอกจากนั้นยังได้แจกแบบสำรวจหนี้สิน ของประชาชนให้สมุหเทศาภิบาลไปจัดทำส่งมาให้ด้วยทางการจึงได้ให้มิสเตอร์ เจ.เอ.เคบอล ขึ้นไปยังจังหวัดพิษณุโลก เพื่อสำรวจลู่ทางที่จะจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้นเป็นการทดลองดูก่อนว่าจะมีทางเป็นไปได้ประการใด เหตุที่ทางการได้เลือกเอาจังหวัดพิษณุโลกเป็นท้องที่ดำเนินการชั้นทดลองนี้ ก็โดยเห็นว่าเป็นท้องที่ที่มีกสิกรเป็นผู้อัตคัต และมีหนี้สินมากสมควรให้ความช่วยเหลือโดยวิธีการสหกรณ์ก่อน หลังจากได้ดำเนินการเพื่อจัดตั้งเรียบร้อยแล้ว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรก
 
UploadImage
 
  1. สหกรณ์ แห่งแรกของไทย
หลังจากพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนสหกรณ์แล้ว ได้รับจดทะเบียนสหกรณ์ ประเภทหาทุนสมาคมแรก เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙ มีชื่อว่า “สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้” ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกทุนดำเนินงานเมื่อแรกตั้ง จำนวน ๓,๐๘๐ บาท (สามพันแปดสิบบาทถ้วน) ๑. เงินกู้แบงก์สยามกัมมาจล  (ธนาคารไทยพาณิชย์) จำนวน ๓,๐๐๐ บาท ๒. ค่าธรรมเนียมแรกเข้า จำนวน ๘๐ บาท

 
  1. สมาชิกสหกรณ์ชุดแรกของไทย
สมาชิกสหกรณ์แรกตั้งของสหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ จำนวน ๑๖ คน
ประกอบด้วย
๑.กำนันชุ่ม ใจสุกใส     ๒.นายกริบ ดีรักษา    ๓.นายชิด นาดอภิ     ๔.อำแดงบุญ เกษน้อย
๕.นายบุญ ดีรักษา      ๖.นายเอม ปานภู่      ๗.นายสาน สานุ่ม     ๘.นางสัง มีพยุง
๙.นายกร่าง ทับผึ้ง      ๑๐.นายยอด สานุ่ม   ๑๑.นายวิง มีพยุง      ๑๒.นายแป๊ะ มีพยุง
๑๓.นายบุญ เกษน้อย   ๑๔.นายหลี เยน่า      ๑๕.นายพราม         ๑๖.นายแต้ม จั่นตอง


 
UploadImage
 
  1. คณะกรรมการสหกรณ์ชุดแรกของไทย
ผู้ได้รับเลือกให้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือขอจดทะเบียนสหกรณ์ ๑๐ ท่าน ซึ่งถือว่าเป็นกรรมการสหกรณ์ชุดแรกของสหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ได้แก่
๑.กำนันชุ่ม       อายุ ๕๓ ปี       ๒.นายชิด       อายุ ๒๓ ปี
๓.นายกริบ       อายุ ๓๘ ปี       ๔.นายบุญ      อายุ ๔๔ ปี
๕.นายเอม        อายุ ๕๖ ปี       ๖.นายสาน     อายุ ๓๔ ปี
๗.นายพราม     อายุ ๒๙ ปี       ๘.นายแต้ม     อายุ ๒๗ ปี
๙.อำแดงบุญ     อายุ ๕๕ ปี       ๑๐.นายบุญ    อายุ ๔๕ ปี

 
 

 
UploadImage
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๖๙
 
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความสนพระทัยการสหกรณ์เป็นอย่างยิ่ง ในโอกาสที่ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการประชุมใหญ่ ของสหกรณ์บ้านดอน ไม่จำกัดสินใช้ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๔๖๙ ณ วัดนางพระยา อำเภอเมือง โดยมีพระยาพิพิธสมบัติ (ตาบ กุวานนท์) ปลัดทูลฉลองกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ดำรงตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ ได้นำสมุดข้อบังคับ บัญชีเอกสารต่าง ๆ ของสหกรณ์ ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทอดพระเนตร ทั้งยังประทับฟังการประชุมของสหกรณ์ด้วยความสนพระทัย จนสิ้นกระแสความ ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง

 
UploadImage
 
มีพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่สมาชิกสหกรณ์ในครั้งนั้น ในโอกาสเดียวกันนั้นได้ทรงบันทึกพระราชหัตถเลขาในสมุดบันทึก การตรวจราชการของสหกรณ์บ้านดอน ไม่จำกัดสินใช้
 
UploadImage

UploadImage

UploadImage

เอกสารสหกรณ์ บ้านดอน ไม่จำกัดสินใช้
 
 
นับแต่นั้นมา ก็ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ