สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์

การจัดการเชิงรุกของสหกรณ์ต่อความท้าทายเพื่อโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน

โดย นายกมลศักดิ์ นันตา
 วันที่ 22 ก.ค. 2565 เวลา 08:04 น.
 803
 
UploadImage
การจัดการเชิงรุกของสหกรณ์ต่อความท้าทายเพื่อโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน
.............
 
 
          สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นหนึ่งในแปดประเภทที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2562 ที่รัฐเห็นความสำคัญและมุ่งให้ประชาชนใช้เป็นกลไกในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการมีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้นภายใต้แนวคิด โดยสมาชิก เพื่อสมาชิก และสมาชิกเป็นเจ้าของตามหลักการประชาธิปไตย
 
          แต่ความล้มเหลวของสหกรณ์ที่มีให้เห็นอยู่เนืองๆ มักมีเหตุปัจจัยมาจากขาดการควบคุมของสมาชิก เปิดโอกาสการทุจริตจากฝ่ายบริหารจัดการจึงมีความจำเป็นที่ต้องยกระดับให้มีการบริหารจัดการที่ดีภายใต้การมีส่วนร่วมของสมาชิกควบคู่กับการกำหนดมาตรการป้องกันมิให้เกิดการทุจริตและเกิดผลกระทบต่อประชาชน
 
          การบริหารรูปแบบจัดการเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดประสิทธิผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานโดยมุ่งไปที่การสร้างแรงจูงใจภายในควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรใน 4 ด้าน (อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์,2552:46-67) ดังนี้
 
  1. ด้านการคิดในทางบวก หมายถึง การยอมรับนับถือตนเอง มองตนเองในแง่บวก มีเมตตาจิต พร้อมที่จะให้อภัย ไม่โกรธหรืออาฆาตพยาบาท มีความพร้อมที่จะเป็นเพื่อนกับทุกคน คิดดี หรือคิดในทางสร้างสรรค์ การมีจิตสำนึกที่ดีต่อองค์กร การให้ความช่วยเหลือและร่วมมือแก่ผู้อื่นที่อยู่ภายในและภายนอกหน่วยงาน รวมถึงมีความหวังที่จะสร้างอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ทั้งนี้การคิดในทางบวกจะทำให้พยายาม หาหนทาง แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงตนเองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
  1. ด้านการลดความไม่แน่นอน หมายถึง การทำงานที่สามารถควบคุมผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยการระบุความไม่แน่นอนที่มีผลกระทบต่อผลลัพธ์มากที่สุด ตลอดจนสามารถวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
 
  1. ด้านการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส หมายถึง การทำงานที่สามารถวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และศักยภาพเกี่ยวกับงาน สามารถประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวสามารถปรับข้อจำกัดหรือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้เป็นโอกาสหรือหาวิธีการแก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์
 
  1. ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ หมายถึง การทำงานที่สามารถจัดการความรู้และพัฒนาความรู้ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง มีการพัฒนาความรู้เพื่อเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจ มีการสนับสนุนและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ มุมมองแปลกใหม่ที่เรียกว่า นวัตกรรม มาใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
          การบริหารรูปแบบจัดการเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพทำให้เกิดความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรที่มีการปฏิบัติงานถูกต้อง และบรรลุในผลที่คาดหวังของความสำเร็จประกอบด้วย
 
  1. ด้านการบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง การดำเนินงานที่ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ ขององค์กรที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเกิดจากการวางแผนที่มีประสิทธิผล ครอบคลุมแนวทางหรือทิศทางที่ชัดเจน ช่วยให้เกิดความเข้าใจในเป้าหมายขององค์กร กำหนดแผนงานสอดคล้องกับเป้าหมาย มีการประเมินผลและควบคุมที่เหมาะสม และใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า
 
  1. ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หมายถึง การพิจารณาว่าผลงานและกระบวนการปฏิบัติงาน นำมาซึ่งความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาชิก เจ้าหน้าที่ และ หน่วยงานอื่นๆ
 
  1. ด้านการปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐาน หมายถึง การปฏิบัติตามมาตรฐานสหกรณ์ที่กำหนดไว้
 
  1. ด้านศักยภาพของบุคลากรและระบบสารสนเทศ หมายถึง การพัฒนาทักษะ ความสามารถ ทัศนคติ ความพึงพอใจ ในการทำงานและสามารถกำกับแนะนำ ระบบสารสนเทศในสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
          การจัดการเชิงรุกของสหกรณ์ต่อความท้าทายที่มุ่งพัฒนาบุคลากรด้วยการสร้างแรงจูงใจภายในควบคู่ ไปกับการพัฒนาบุคลากร ทั้งสี่ด้านที่กล่าวมาข้างต้นเป็นโอกาสในการพัฒนาสหกรณ์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในทุกด้านรวมทั้งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสหกรณ์อย่างยั่งยืน
 


UploadImage

ผอ.สมทรง ยอดนิล
คณะกรรมการดำเนินการและเลขานุการ
ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด
21 กรกฎาคม 2565 การประชุมวิชาการนานาชาติ และเป็นวิทยากรร่วมเสวนา
ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
…….
เอกสารอ้างอิง
สิรินภา นามพรหม และคณะ. (2556). ผลกระทบของประสิทธิผลการทางานเชิงรุกที่มีต่อความสำเร็จในการ ปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
 
อรอุมา ชุมประสงค์และการุณ พงศ์ศาสตร์. (2562). การจัดการเชิงรุกที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์ : มหาวิทยาลัย ร้อยเอ็ด.
 
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2552). เทคนิคการทางานเชิงรุก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ.