สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์

บทความ เรื่อง "ก.บากเรือ สร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชหลังนา เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน"

โดย นางสาวสุภ์จิตรา ปิยะจันทร์
 วันที่ 24 มี.ค. 2565 เวลา 16:15 น.
 800
 
UploadImage

บทความ เรื่อง
"ก.บากเรือ สร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชหลังนา เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน"

กลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ มีสมาชิกทั้งหมด 922 ราย มีทุนดำเนินงานทั้งสิ้น 6,803,444.05 บาท กลุ่มเกษตรกรมีการดำเนินธุรกิจ 3 ด้าน  1.ธุรกิจรวบรวมผลิตผล (ข้าวอินทรีย์)  2. ธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตรและการผลิตสินค้า ซึ่งประกอบด้วย แปรรูปข้าวอินทรีย์  แปรรูปน้ำมันรำข้าว  3.ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย  กลุ่มเกษตรกรมีการส่งเสริมให้สมาชิกทำการเกษตรแบบอินทรีย์ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์  EU  มีพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทั้งสิ้น 2,500 ไร่  ซึ่งกลุ่มเกษตรกรทำหน้าที่เป็นตลาดกลางรับซื้อผลผลิตข้าวเปลือกอินทรีย์คืนจากสมาชิก และนำผลิตผลที่ได้จากสมาชิกมาแปรรูปเป็นข้าวสาร จำหน่ายให้เครือข่ายสหกรณ์ และลูกค้าทั่วไป

UploadImage
นอกจากการแปรรูปข้าวเปลือกอินทรีย์จะให้ผลิตภัณฑ์หลัก คือ “ข้าวสาร” ที่พร้อมไปสู่ขบวนการบรรจุหีบห่อเป็นผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มแล้ว ผลพลอยได้จากการแปรรูปข้าวเปลือกอินทรีย์อีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้  นั่นคือ “รำอ่อน” ซึ่งกลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือได้นำรำอ่อนไปแปรรูปโดยสกัดเป็นน้ำมันรำข้าว ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ และจำหน่ายน้ำมันรำข้าวให้กับสหกรณ์ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ จำกัด เพื่อนำไปเข้าสู่ขบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างขบวนการสหกรณ์เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือยังขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการแปรรูป  สำหรับผลิตผลที่ได้จากการนำรำอ่อนมาสกัดเป็นน้ำมันรำข้าว  ประกอบด้วย
1. น้ำมันรำข้าวดิบ ราคาขาย  กิโลกรัมละ 1,000 บาท  
2. น้ำมันรำข้าวอัดเม็ดแคปซูล บรรจุ 50 เม็ด  ราคาขายกระปุกละ  250 บาท
3. น้ำมันรำข้าวบรรจุขวด ขนาด 100 cc.  ราคาขายขวดละ  120 บาท
             
กลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายให้กับสมาชิก โดยจัดหาปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์อินทรีย์ มาจำหน่ายให้กับสมาชิกในราคาที่เป็นธรรม  แต่ส่วนใหญ่แล้วกลุ่มเกษตรกรจะส่งเสริมให้สมาชิกทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต  และเก็บเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ไว้ใช้สำหรับฤดูกาลต่อไป  


UploadImage 
UploadImage
นอกจากนี้กลุ่มเกษตรกรยังได้มีการส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้เสริม  โดยการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกพืชหลังนา เช่น  ปลูกหอมแดง  กระเทียม  พริก  ข่า  ตระไคร้  เป็นต้น  ซึ่งเป็นการต่อยอดจากพื้นที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์  ในรอบปีที่ผ่านมากลุ่มเกษตรกรสามารถรวบรวมผลผลิตพืชหลังนาจากสมาชิกนำร่องและกระจายผลิตผลของสมาชิกสู่ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นมูลค่า 230,000  บาท  ซึ่งทำให้สมาชิกมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น  ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรรับซื้อผลผลิตคืนจากสมาชิกในราคาที่เป็นธรรม และกระจายผลผลิตให้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการที่แปรรูปสินค้าเกษตรอินทรีย์  โดยส่งมอบสินค้า 500 – 1,000 กิโลกรัม ต่อครั้ง ซึ่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด สำหรับพืชหลังนาอินทรีย์ชนิดต่างๆ ของสมาชิกสามารถส่งขายในตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย
1. หอมแดง ราคาขายกิโลกรัมละ 100 บาท
2. กระเทียม ราคขายกิโลกรัมละ  220 บาท
3. พริกสด ราคขายกิโลกรัมละ 100 บาท
4. พริกแห้ง ราคขายกิโลกรัมละ 380 บาท
5. ใบมะกรูดสด ราคขายกิโลกรัมละ 90 บาท
6. ใบมะกรูดแห้ง ราคขายกิโลกรัมละ 80 บาท
7. ข่า ตะไคร้ ราคขายกิโลกรัมละ  70 บาท


UploadImage

UploadImage
ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ ยังมีการเครือข่ายสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ในจังหวัดยโสธร ประกอบไปด้วยสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ จำกัด ,สหกรณ์ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ จำกัด, กลุ่มเกษตรกรทำนานาโส่ , สหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ธรรมชาติหนองยอ จำกัด และกลุ่มวิสาหกิจ สถาบันเกษตรกรที่ทำเกษตรกรอินทรีย์ ฯลฯ  ได้ดำเนินการส่งเสริมให้สมาชิกที่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลูกพืชหลังนา และพืชผักเกษตรอินทรีย์ต่างๆเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก เช่น งาอินทรีย์ หอมแดงอินทรีย์ ข่าอินทรีย์ และพืชสมุนไพรต่างๆ โดยเครือข่ายฯจะเป็นที่รวบรวมผลผลิตจากสมาชิก และประสานพ่อค้า ร้านค้าที่มีความต้องการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ มีรับ ปัจจุบันผลผลิตเกษตรอินทรีย์ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก และยังไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการของตลาด ผลผลิตขาดแคลน เครือข่ายสถาบันเกษตรกรอินทรีย์ ยังมีความพยายามส่งเสริมและพัฒนาสมาชิกปลูกพืชหลังนาให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น สร้างรายได้หลังทำนา และเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก โดยมีตัวอย่างดังนี้

ข้อมูลการปลูกงาดำของสหกรณ์ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ยโสธร จำกัด
1. สมาชิกทั้งหมดที่ปลูกงาดำอินทรีย์ จำนวน 22 ราย
2. พื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด  35 ไร่
3. ผลิตต่อไร่ 20-40 กิโลกรัม
4. รวมผลผลิตงาดำต่อปี ไม่แน่นอน ขึ้นกับสภาพอากาศ ปี 2564 ได้ผลผลิตจำนวน  2 ตัน
5. น้ำมันงาดำ 1 ลิตรใช้เมล็ดงากี่กิโลครับ 20-30 % ของเมล็ดงาดิบ
6. ตลาดรับซื้อ ยังไม่มี
7. ราคารับซื้อเมล็ดงาดำกิโลกรัมละ 100 บาท
8.ราคาขายน้ำมันงา 800-1,500 บาท


UploadImage

UploadImage

UploadImage

ตัวอย่างเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ยโสธร จำกัด นายสายสมร  ไวว่อง ปลูกงาดำจำนวน 3 ไร่ มีรายได้จากการปลูกงาดำประมาณ ปีละ 12,000 บาท ขั้นตอนการเตรียมดินปลูก ของสมาชิกสหกรณ์ฯ ทีมีการปลูกงาดำ ดังนี้
 1. หว่านปุ๋ยหมัก 1 ตัน/ ไร่
 2. ไถกลบตากแดดไว้ 7 วัน
 3. ปั่น 1 รอบ
 4. หว่านเมล็ดงาดำ จำนวน 1 กิโลกรัมต่อไร่
 5. ปั่นอีกหนึ่งรอบ
 6. ฉีดน้ำหมัก 15 วันต่อครั้ง 
 
บทความโดย นายสุชาติ สีหามาตย์
ตำแหน่งนักวิชาการมาตรฐานสินค้า สำนักงานสหกรณ์จังหวัดยโสธร