สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์

การรวมตัวขององค์กรเกษตรกร เพื่อสร้างการรับรู้ในเวทีการค้าโลก

โดย นายกมลศักดิ์ นันตา
 วันที่ 31 ส.ค. 2564 เวลา 17:33 น.
 1331
UploadImage

การรวมตัวขององค์กรเกษตรกร
เพื่อสร้างการรับรู้ในเวทีการค้าโลก
 
โดย นายภาณุวัฒน์ แว่นระเว
หัวหน้าฝ่ายกิจการระหว่างประเทศและส่งเสริมธุรกิจการค้า
สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
 
การรวมตัวขององค์กรภาคสหกรณ์
 
หลังจากการประชุมระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก (WTO) ครั้งที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน 2542 ณ นครซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Central Union of Agricultural Cooperatives-JA Zenchu) ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อการพูดคุยเรื่ององค์การการค้าโลกในมุมมองของเอเชีย ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม ขององค์กรภาคสหกรณ์การเกษตร ด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับ JA Zenchu สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ได้รับเชิญให้เป็น 1 ใน 7 ประเทศผู้ก่อตั้ง “กลุ่มเกษตรภูมิภาคเอเชียเพื่อความร่วมมือ” หรือ Asian Farmers’ Group for Cooperation (AFGC) เมื่อปี พ.ศ. 2542 (1999) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม AFGC ประกอบด้วยประเทศอินเดีย โดยชุมนุมสหกรณ์แห่งชาติ (National Cooperative Union of India - NCUI) อินโดนีเซียโดยศูนย์ศึกษาเกษตรกรแห่งประเทศอินโดนีเซีย (Advocacy Center for Indonesian Farmers - ACIF) ประเทศเกาหลีใต้ โดยชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศเกาหลีใต้ (National Agricultural Cooperative Federation - NACF) ประเทศมาเลเซีย สมาคมเกษตรกรแห่งประเทศมาเลเซีย (National Farmers Association - NAFAS) Tfi Sdn Bhd (รัฐวิสาหกิจ) ประเทศฟิลิปปินส์ โดย ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรอิสระ (Federation of Free Farmers Cooperatives, Inc - FFFCI) ต่อมาประเทศเวียดนาม โดยสหพันธ์สหกรณ์แห่งประเทศเวียดนาม (Vietnam Cooperative Alliance - VCA) และประเทศศรีลังกา โดยเครือข่ายเกษตรกรอิสระแห่งประเทศศรีลังกา (Independent Farmers Network of Sri Lanka - IFNSL) เข้าร่วมเป็นสมาชิก ล่าสุด ประเทศมองโกเลีย โดยสมาคมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศมองโกเลีย (National Association of Mongolian Agricultural Cooperatives - NAMAC) และประเทศไต้หวัน [Chinese Taipei] โดยสมาคมเกษตรกรแห่งชาติ (National Farmers’ Association - R.O.C.)กลุ่ม AFGC ได้จัดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกปี (Annual Meeting) เข้าร่วมเป็นสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิก จำานวน 11 องค์กร รวมทั้ง มีการจัดสัมมนาวิชาการ การประชุมร่วมกับองค์กรภาคการเกษตรในประเทศแถบทวีปยุโรป อเมริกาเหนือและแอฟริกา เพื่อหารือประเด็นต่างๆ ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก รวมทั้ง ได้จัดทำแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อผลักดันข้อเสนอผ่านช่องทางการทูตของประเทศต่างๆ ที่สำนักงานองค์การการค้าโลกนครเจนีวา การเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก และการเป็นตัวแทนของเกษตรกรภูมิภาคเอเชียในการเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีของอาเซียนบวก 3 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ที่ผ่านมาประธานฯ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุมประจำปี ครั้งที่ 20 ของกลุ่มเกษตรกรภูมิภาคเอเชียเพื่อความร่วมมือ หรือ Asian Farmers’ Group for Cooperation (AFGC) ซึ่งกำหนดการเดิมจะจัดขึ้นที่เมืองพัทยา ในวันที่ 20 มีนาคม 2563 เนื่องจากเริ่มเกิดโรคระบาดโควิด–19 จึงได้เลื่อนมาจัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุมครบทุกประเทศ รวมทั้งไต้หวันและมองโกเลีย ซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ โดยได้กำหนดหัวข้อหลักการประชุม คือ “ระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ” Sustainable Food System – to Achieve the Sustainable Development Goals (SDGs) องค์กรสมาชิกได้นำเสนอรายงานของแต่ละประเทศและได้สรุปออกเป็นแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement)
 
ความเคลื่อนไหวขององค์การการค้าโลก (WTO)
 
ประเทศสมาชิก WTO ส่วนใหญ่เห็นว่ากลไกการทำงานของ WTO ในปัจจุบันไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ค่อยสนองต่อการพัฒนาทางการค้าและแก้ไขปัญหาข้อพิพาททางการค้าในปัจจุบันได้ หลายประเทศจึงเริ่มหารือเกี่ยวกับแนวทางการรักษาและเสริมสร้างระบบการพหุภาคีเพื่อปรับปรุงกลไกการทำงานของ WTO ให้มีประสิทธิภาพและสามารถทำงานต่อไปโดยไม่หยุดชะงักหลังจากที่ได้ผู้อำนวยการใหญ่ WTO คนใหม่ซึ่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO คนที่ 7 ดร.เอ็นโกซี่ โอคอนโจ อิเวลา (Dr. Ngozi Okonjo-Iweala) ชาวไนจีเรีย มาเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา สมาชิก WTO เริ่มเตรียมการประชุมรัฐมนตรีการค้า ครั้งที่ 12 (12th WTO Ministerial Conference Meeting) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2564 ที่นครเจนีวา ประเด็นหลัก ๆ ที่กำลังหารือกันเพื่อเสนอให้ที่ประชุม MC 12 เห็นชอบคือ การอุดหนุนประมง เรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เรื่องกฎระเบียบภายในของภาคบริการ การปฏิรูปกระบวนการระงับข้อพิพาทการปฏิบัติเป็นพิเศษต่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุด การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน สินค้าเกษตร เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ/วัคซีน และการช่วยเร่งฟื้นคืนเศรษฐกิจโลก ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับวัคซีนและสุขภาพ นอกจากนี้ ดร.เอ็นโกซี่ยังเห็นว่า ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นฐานการผลิตวัคซีนให้ประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันได้ จึงอยากให้มีการหารือเรื่องการลงทุนผลิตวัคซีนโดยบริษัทต่าง ๆ ต่อไปอีกด้วย
 
การประชุมรัฐมนตรีของ WTO ครั้งต่อไป จะเป็นบทพิสูจน์ความตั้งใจของสมาชิก WTO ที่จะพลิกฟื้นบทบาทของ WTO และระบบกฎเกณฑ์แบบพหุภาคี ให้เดินหน้าต่อไปได้ หลังจากที่ประสบปัญหาจากประเทศใหญ่บางประเทศ เช่น สหรัฐฯ ที่ในสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ ไม่ให้ความสำคัญกับระบบพหุภาคีนัก โดยขณะนี้ประธานาธิบดีไบเดนได้แต่งตั้งผู้แทนการค้าหรือ USTR คนใหม่ ซึ่งมีภูมิหลังการทำงานที่คุ้นเคยกับกระบวนการของ WTO เป็นอย่างดี จึงน่าจะมีปฏิสัมพันธ์กับ WTO มากขึ้น การกลับมาของสหรัฐฯ เป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตามต่อไป
 
ท่าทีของรัฐบาลไทยต่อ WTO
 
สำหรับประเทศไทย มีเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญา มีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2556 เป็นหน่วยงานกลางของรัฐบาลไทยในการประสานงานกับ WTO มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบาย กำหนดท่าทีและกลยุทธ์ รวมทั้ง การประสานนโยบายด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ การประชุมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค ภูมิภาค พหุภาคี และภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเจรจาระหว่างประเทศด้านการค้าบริการ การลงทุน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทุกระดับภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและเสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ การเสนอแนะนโยบาย แนวทางการปรับตัว และการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าโดยจัดให้มีการตรวจสอบและทบทวนนโยบายทางการค้าของประเทศสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้อยู่ในแนวการค้าเสรีอย่างเดียวกัน พัฒนาระบบการค้าเสรีให้ประเทศสมาชิกได้ประโยชน์ทั้งในด้านข้อมูลการค้า ข้อแนะนำและผลการศึกษาประเด็นการค้าที่สำคัญต่างๆ อีกทั้งการขอรับความช่วยเหลือจาก WTO ในด้านอื่นๆ
 
การรวมตัวขององค์กรเกษตรกรเพื่อสร้างการรับรู้ในเวทีการค้าโลก
 
การรวมตัวขององค์กรตัวแทนของเกษตรกรและภาคสหกรณ์เป็น“กลุ่มเกษตรภูมิภาคเอเชียเพื่อความร่วมมือ” หรือ Asian Farmers’ Group for Cooperation (AFGC) นำโดยชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกลางแหง่ ประเทศญี่ปุ่น (Central Union of Agricultural Cooperatives-JA Zenchu) เพื่อสร้างการรับรู้ต่อบทบาทที่สำคัญของกลุ่ม ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศให้ความสำคัญต่อข้อเรียกร้องในรูปแบบของแถลงการณ์การร่วม (Joint Statement) ของกลุ่มจะเห็นได้จากนายกรัฐมนตรีของไทย (ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร) ได้เชิญประธานฯ JA Zenchu เข้าพบขณะเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ รวมทั้ง เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO ณ กรุงเจนวี า ได้เชิญผู้อำนวยการส้นนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยเข้าพบขณะเดินทางไปร่วมประชุมกับกลุ่ม AFGC ณ โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเจนีวาผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของ WTO ครั้งที่ 6 ณ ประเทศฮ่องกง ระหว่างวันที่ 13 – 18 ธันวาคม 2548 โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจาก JA Zenchu ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า การประชุมรอบโดฮา (Doha Declaration) เพื่อเริ่มตามปฏิญญาโดฮา นับว่าเป็นการประชุมระดับโลกที่เต็มไปด้วยการประท้วงนอกศูนย์การประชุมตลอดเวลา ซึ่งนำโดยHong Kong People’s Alliance ใน WTO มีศูนย์บัญชาการการประท้วงอยู่ที่ Victoria Park นับว่าเป็นการประชุมที่ล้มเหลวและเลวร้ายที่สุดของ WTO
 
สุดท้ายนี้เนื่องในวันพืชมงคลซึ่งนับว่าเป็นวันมงคลที่จะเริ่มลงมือหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวของชาวนาไทยผมมีประเด็นร้อนเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศที่จะมีผลกระทบต่อเกษตรกรของประเทศไทย คือ CPTPP มีชื่อเต็มว่า “Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership” หรือ “ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้ส่วนนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก” จำชื่อนี้ไว้ให้ดีนะครับ มันเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการและการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติแล้วทำไมจึงมีคนค้านไม่อยากให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมเป็นภาคี CPTPP ทำไมพูดถึงการรักษาสิทธิของเกษตรกรและสิทธิในการเก็บรักษาพันธุ์พืชไปปลูกต่อ การคุ้มครองความมั่นคงทางอาหารและปกป้องแหล่งอาหารของคนไทยจากการปนเปื้อนจีเอ็มโอ (GMO) จริงๆแล้วความหลากหลายทางเมล็ดพันธุ์เป็นมรดกของโลก มิใช่ของคนใดคนหนึ่งหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง การตัดสินใจของกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในการเข้าร่วมCPTPP ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยไหม ได้หารือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไหมความตกลง CPTPP มันไม่ใช่แค่เรื่องการค้าเสรี แต่เป็นใบผ่านมอบ “เสรีภาพ”ให้กับบริษัทอุตสาหกรรมในการเป็นเจ้าของและสร้างเม็ดเงินจากทรัพยากรของประเทศคู่ค้า โดยที่เกษตรกรรายย่อยไม่มีอำนาจอะไรต่อกร ข้อตกลงทางการค้าเช่นนี้จึงไม่ใช่ภัยคุกคามเฉพาะแค่เกษตรกรไทย แต่เป็นปัญหาของเกษตรกรรายย่อยทั่วโลก ต่อกรกับอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ทางการเกษตร และการครอบครองระบบอาหาร นี่คือประเด็นร้อนที่มีผลกระทบต่อเกษตรกรรอบด้านและต้องนำมาขยายเพื่อปกป้องสมาชิกสหกรณ์ในโอกาสต่อไป