สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์

การพัฒนาสหกรณ์ตาม Function

โดย นายกมลศักดิ์ นันตา
 วันที่ 31 พ.ค. 2563 เวลา 08:06 น.
 1186
 
UploadImage

การพัฒนาสหกรณ์ตาม Function
 
                        การพัฒนา หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีขึ้น ทั้งทางด้านคุณภาพ ปริมาณ และสิ่งแวดล้อม ด้วยการวางแผนโครงการและดำเนินงานโดยมนุษย์ กลุ่มทางสังคม หรือชุมชน    อย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งหวังประโยชน์แก่ตัวของมนุษย์ด้วยกันเอง
                        สหกรณ์ คือ องค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยการลงหุ้นร่วมกัน จัดการร่วมกันในการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือบริการตามความต้องการหรือผลประโยชน์อย่างเดียวกันของบรรดาสมาชิก สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิ์ออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการบริหารสหกรณ์ โดยไม่ขึ้นกับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์โคนม, (กฎ) คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
                        หากกล่าวถึงการพัฒนาสหกรณ์ตามนิยามเกี่ยวกับการพัฒนาและสหกรณ์ข้างต้นแล้ว       ในทรรศนะของผู้เขียนมีความเห็นว่า ก่อนการพัฒนาสหกรณ์ต้องทราบความเป็นตัวตนของสหกรณ์แห่งนั้นก่อนว่ามีสภาพอย่างไร ทั้งนี้ ในภารกิจของกรมส่งเสริมสหกรณ์ คือ การแนะนำ ส่งเสริมให้สหกรณ์มีความเข้มแข็ง หากเราทราบได้ว่าสหกรณ์แห่งนั้นมีสภาพเช่นไร มีจุดอ่อน – จุดแข็งอย่างไร จะสามารถพัฒนาสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็งได้
                        ทั้งนี้ แนวคิดทางการบริหารธุรกิจสำหรับการกำหนดจุดอ่อน – จุดแข็งขององค์กร จะใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) ในส่วนสภาพแวดล้อมภายในของสหกรณ์ สามารถใช้ทฤษฎี Function Analysis ในการวิเคราะห์จุดอ่อน –จุดแข็งขององค์กร ซึ่งพิจารณาจากสายงานหรือหน้าที่ของงานด้านต่าง ๆ เปรียบเทียบกับคู่แข่งขันหรือการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต ประกอบด้วย
                        1. ด้านการบริหาร (Administrative Factor)
                        2. ด้านเทคโนโลยี (Technology Factor)
                        3. ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Factor)
                        4. ด้านการผลิต (Production Factor)
                        5. ด้านการตลาด (Marketing)
                        6. ด้านการเงิน (Financial)
                        ตามทรรศนะของผู้เขียน หากนำทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมาปรับใช้เพื่อการพัฒนาสหกรณ์แล้ว จะทำให้ทราบถึงสภาพแวดล้อมภายในของสหกรณ์ในทุกด้าน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาสหกรณ์ในแต่ละ Function เพื่อให้ “สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถเป็นที่พึ่งแก่มวลสมาชิก ตลอดจนส่งผลให้เกิดการกินดี อยู่ดี และมีสันติสุขในสังคม”

 
ณัฐพร  สมทัศน์
นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ